หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ทรัพยากรมนุษย์, ไตรสิกขาบทคัดย่อ
บทความนี้การนำเสนอแนวคิดในการบูรณาการหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา มาประยุกต์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักของศาสตร์ทางตะวันตก ศาสนาเป็นหนึ่งในพลังที่มีอำนาจให้ความรู้ลึกซึ้ง และมีอิทธิพลต่อชีวิตครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ และการเมือง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้พุทธธรรมมาช่วยยกระดับจริยธรรมนั้นเป็นประโยชน์ที่สำคัญพุทธธรรมมิใช่เป็นกฎธรรมชาติที่จะบอกมนุษย์เรื่องความดีความชั่วเท่านั้น พุทธธรรมยังเป็นเครื่องชี้นำแนวทางในการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปสู่ชีวิตที่ดีอีกด้วย ดังนั้นการประยุกต์พุทธธรรมทั้งในระดับโลกียธรรมและโลกุตรธรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งในฐานะปัจเจกบุคลากรและในฐานะทรัพยากรขององค์การและประเทศชาติ ทำให้คนเป็นมนุษย์ที่มีทั้งความเก่ง ความดี และความสุข หลักไตรสิกขาสามารถเสริมสร้างการพัฒนาการบริหารบุคลากรให้เป็นคนมีความประพฤติดี มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพสูง อันจะนำพาให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ และเป็นองค์กรที่มั่นคง ยั่งยืน สืบต่อไป
References
กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2548). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1-2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
จิระ หงส์ลดารมณ์. (2535). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หน่วยที่ 1-6. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเครื่องหมาย.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2538). การพัฒนาบุคลากรโดยกลุ่มสร้างสรรค์ความว่างามทั้งจิตใจ. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธงชัย สมบูรณ์. (2549). การบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร. กรุงเทพฯ: ปราชญ์สยาม.
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์. (2535). การศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาบุคลากร พ.ศ. 2535-2539. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
นพ ศรีบุญนาค. (2546). ศาสตร์การจัดการ. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
บรรจง ชูสกุลชาติ. (2534). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับสังคมอุตสาหกรรมในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูจันเกษมและวิทยาลัยครูพระนคร.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2548). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พระครูสุนทรวัชรกิจ (บุญธรรม ธมฺมิโก). (2556). กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชน(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). การบริหารจัดการแนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Harbison. F. H. (1978). Human Resources as the Wealth of Nations. New York: Oxford University Press.
Milkovich, G. T. & John W. (1991). Boudreau, Human Resource Development. 6th Edition. Boston: Homewood.
Heneman, et al. (1983). Personnel/ Human Resource Management. Illinois: Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น