ผู้นำในธรรม
คำสำคัญ:
ผู้นำ, หลักธรรม, การบริหารงานบทคัดย่อ
ผู้นำเป็นบุคคลสำคัญขององค์กรทุกองค์กร ที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ หรือเป็นผู้นำที่จะนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ บุคคลที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะ ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในด้านงานที่บริหารนั้นแล้ว ผู้นำต้องเป็น “ผู้นำในธรรม” กล่าวคือ ผู้นำที่นำเอาหลักธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องดำเนินชีวิตและนำมาเป็นแนวทางในการบริหารงาน ย่อมส่งผลที่ดีต่อตัวผู้นำและองค์กรเป็นอย่างมากอีกด้วย
หลักธรรมที่นำมายึดถือเป็นแนวทางในการบริหารงานนั้น มีมากมายหลายหลักธรรม ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาและนำหลักธรรมที่สำคัญเกี่ยวข้องมาเป็นแนวเสนอได้แก่ 1) หลักไตรสิกขา 2) หลักอธิฐานธรรม 3) หลักพรหมวิหาร 4) หลักขันติโสรัจจะ ซึ่งหลักธรรมและคำสั่งสอนนี้ สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง อย่างเป็นเหตุเป็นผล พิสูจน์ได้จากผลลัพธ์ การนำหลักธรรมมาใช้ในการบริหารงานนั้น นอกจากจะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กรแล้ว ยังบังเกิดผลดีต่อตัวผู้นำมาประพฤติปฏิบัติอีกด้วย ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า “ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี” ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พระพุทธศาสนา พัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิชยาลัย.
พระศรีคัมภีรญาณ. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 2(1), 93-109.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Hill, L. A. & Bowman, N.A. (2563) คัมภีร์กลยุทธ์สำหรับผู้นำ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ต จำกัด.
Kawee Wongput. (1996). Leadership. Bangkok: B.K.Inter Print.
Yukl, G. A. (1999). An evaluation of conceptual weakness in transformational and charismatic leadersip. The Leadership Quarterly. Upper Saddle River: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น