การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สาระความปลอดภัยในชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD

ผู้แต่ง

  • สุภาพร คางคำ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ศิริพร พึ่งเพ็ชร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและก่อนเรียน (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 26 คน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หน่วยการเรียนรู้ อย่าริ อย่าลอง อย่าเสพ และหน่วยการเรียนรู้ ลดความเสี่ยง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีอยู่ 5 ขั้นตอน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (gif.latex?\bar{x} =27.49, S.D.=1.27) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 16 คน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.84, S.D.=0.09)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2563, จาก https://shorturl.asia/Y7rkp

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

นพพร แหยมแสง. (2555). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

เลิศมนัส อุปฌาย์. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง เรียนรู้ตัวเรา ชีวิตและครอบครัว การสร้างเสริมสุขภาพ และความปลอดภัยในชีวิต วิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พ16101 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน. สืบค้น 22 ธันวาคม 2564, จาก https://www.sites.google.com/site/bankoonschool/publish/pheyphaerphlnganthangwichakarleismnasxupchay

สมบูรณ์ ไพรเขียว. (2564, 22 ธันวาคม). หัวหน้ากลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาโรงเรียนเนินสง่าวิทยา [บทสัมภาษณ์].

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) จำกัด.

สมบัติ โยธาทิพย์ และคณะ. (2558). รูปแบบและวิธีการพัฒนาเยาวชนเพื่อความมั่นคงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. (รายงานวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

สุลัดดา ลอยฟ้า. (2536). รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite