การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเชิงพุทธ

ผู้แต่ง

  • Sumoltha Supawimol -

คำสำคัญ:

วิสาหกิจชุมชน, การพัฒนา, เชิงพุทธ, จักร 4

บทคัดย่อ

วิสาหกิจชุมชนเป็นกิจการที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันด้านอาชีพและเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยชุมชนได้ร่วมคิด ร่วมทำและเรียนรู้นำมาสู่การแปรรูปผลผลิตหรือสร้างผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อการบริโภคและสร้างรายได้ ทั้งนี้ ในหลายพื้นที่ได้มีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ชุมชนจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีบางกลุ่มที่ต้องเลิกกิจการ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องผลตอบแทนภายในกลุ่ม ต้นทุนของวัตถุดิบ และช่องทางการจำหน่ายสินค้า ดังนั้น การที่จะดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนให้มีความยั่งยืนต้องคำนึงถึงพื้นที่ วัตถุดิบ สภาพแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการติดต่อสื่อสารผ่านหน่วยงานภาครัฐ และกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มที่ต่อเนื่อง รวมทั้งมีการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส เป็นธรรมต่อสมาชิกภายในกลุ่ม ผนวกกับการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่ จักร 4 นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ผสานกับแนวคิดวิสาหกิจชุมชนซึ่งจะส่งผลให้ประสบความสำเร็จและนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ไทยเบฟ กับการพัฒนาชุมชน สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1007439.

กัญจนพรรษณ์ จุพรมณี. (2561). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการของหมู่บ้านศาลาเม็งตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579). สืบค้น 23 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.thaitribune.org/contents/detail.

จักรพงษ์ นวลชื่น. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษากรณี วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม : ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

เพชรา บุดสีทา. (2559). การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการจัดการและการพัฒนา, 3(1), 15-35.

วรภา มนต์อารักษ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาชุมชนตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ ศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5), 1721-1735.

เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ. (2561). วิสาหกิจชุมชนแฟร์ 2018 เสริมฐานรากเข้มแข็งสร้างเศรษฐกิจชุมชน. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.ryt9.com/ s/prg/2787712.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้น 23 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

Wasko and Faraj. 2000. It is What One Does: Why People Participate and Help Others in Electronic Communities of Practice. Journal of Strategic Information Systems, 9(2-3), 155–173.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite