การส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมศาลอาญา
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, จริยธรรมเชิงพุทธบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมจริยธรรม เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรม และเพื่อนำเสนอการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมศาลอาญา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 คน สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธ พบว่า การส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมจริยธรรม พบว่า 1) หลักการส่งเสริมจริยธรรมส่งผลต่อจริยธรรมของผู้ประนีประนอมศาลอาญา 4 ด้าน (Adj. R2=.775) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย การรักษามาตรฐาน โปรงใส และตรวจสอบได้, การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพ, การยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง, และการยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม, 2) หลักสาราณียธรรม 6 ส่งผลต่อจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอมศาลอาญา 4 ด้าน (Adj. R2=.751) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย สีลสามัญญตา (อยู่ในกฎระเบียบ) สาธารณโภคี (การรู้จักแบ่งปัน) เมตตาวจีกรรม (วาจาดี) ทิฏฐิสามัญญตา (เห็นดีงาม) 3. การส่งเสริมจริยธรรมเชิงพุทธของผู้ประนีประนอม ประกอบด้วย จริยธรรม 3 ด้านคือ อุดมการณ์ของผู้ประนีประนอม จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว และจริยธรรมทั้ง 3 ด้าน ต้องอาศัยหลักการส่งเสริมจริยธรรม 6 ด้าน และหลักสาราณียธรรม 6 ด้าน
References
กองทุนบัวหลวง. (2563). สาราณียธรรม 6 : หลักการในการอยู่ร่วมกัน. สืบค้น 28 ธันวาคม, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000029668
ศาลอาญา. (2564). ประกาศศาลอาญา เรื่อง แต่งตั้งผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญา ประจำปี 2560-2564. สืบค้น 28 ธันวาคม, จากhttps://crimc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/53/cid/7861/iid/179478
พระครูพิบูลย์ธรรมสถิต ฐิตสุโข. (2561). การนำหลักสาราณียธรรม 6 ไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 12(1), 110-121.
พระอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ (พิมนนท์). (2564). คุณลักษณะของผู้ประนีประนอมเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 3(1), 53-70.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีระชัย ประดิษฐากร. (2556). การนำวิธีการสื่อสารมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอม ในศาลยุติธรรม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(1), 17-27.
อภิชิต อนันตประยูร. (2561). รูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมข้อพิพาท โดยหลักพุทธสันติวิธี : ศึกษากรณีผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น