พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะ ของเทศบาลนครลำปาง

ผู้แต่ง

  • เกศี จันทราประภาวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพการจัดการ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อและนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง พบว่า หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง มี 2 ด้าน แสดงว่า หลักอิทธิบาท 4 ร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง พบว่า ด้านจิตตะ (ความมีใจฝักใฝ่ เอาใจใส่ในงาน) และด้านวิมังสา (ไตร่ตรองหาเหตุผล) และ 3. รูปแบบพุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง พบว่า พุทธวิธีการจัดการ โดยการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 เพื่อเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดเป็นพุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการ และยังเป็นผลลัพธ์ที่เทศบาลนครลำปางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และดำเนินตามนโยบายของเทศบาลนครได้ดียิ่งขึ้น

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2551). กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยปี 2006. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

จิราภรณ์ คชเสนี. (2555). การจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 99-113.

ฐิติธร บำบัด. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการของศูนย์วิจัยพลังงานรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 103-113.

ปกรณ์ มหากันธา. (2557). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ (พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม (มั่งคั่ง). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วงเพชร คงจันทร์. (2556). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับหลักกฎหมาย : กรณีศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด ดวงจักร์. (2556). ประสิทธิผลของนโยบายการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานปลัดเทศบาลนครลำปาง. (2563). สำนักงานเทศบาลนครลำปาง แผนการพัฒนาสามปี 2555-2558. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.omnoi.go.th/data.php?content_id=2

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2564). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานการเห็นคุณค่าในตนเองและหลักอิทธิบาทธรรมที่มีต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 114-125.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(3), 68-78.

Gulick, L & Urwick, L. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite