การศึกษาเปรียบเทียบระบบการควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

  • พระราชวิมลโมลี (มานพ ปิยสีโล) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โกเมศ ขวัญเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบการควบคุมบทบัญญัติ, กฎหมาย, รัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาถึงแนวคิดหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย 2. เพื่อศึกษาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และกระบวนการพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและราชอาณาจักรไทย 3. เพื่อข้อเสนอแนะการปรับปรุงโครงสร้างอำนาจหน้าที่และกระบวนการพิจารณาที่มีความเหมาะสม รูปแบบวิธีดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการศึกษาทางเอกสาร (Documentary Research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเนื้อหาสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1.แนวคิดเกี่ยวกับหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย คือหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (Vorrang der Verfassung) รัฐธรรมนูญกำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นระเบียบพื้นฐานในการปกครองรัฐไว้ มีรูปแบบเฉพาะขององค์กรที่พิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยให้ “ศาลยุติธรรม (Court of Justice)” ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัติที่สภา คองเกรส ตราขึ้น 2. โครงสร้างของตุลาการรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1958 อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีระบบการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายของสาธารณรัฐ ระบบการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายของราชอาณาจักรไทย: ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ยังคงมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายทั้งก่อนประกาศใช้และหลังประกาศใช้ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 3. ข้อเสนอแนะ ควรมีหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หลักการคัดค้านผู้พิพากษา หลักคู่ความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี กระบวนการดำเนินคดีด้วยวาจา การสืบพยานหลักฐานต่างๆ ควรมีวิธีพิจารณาเฉพาะเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องที่เป็นปัญหา

References

โกเมศ ขวัญเมือง. (2561). เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง. ชุดที่ 1. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิตย์ จุมปา. (2548). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์นิติธรรม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489. (2489, 10 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 63 ตอนที่ 30. หน้า 318-368.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2548). ศาลรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (รายงานการวิจัยของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Alec S. S. (1992). The Birth of Judicial Politics in France: The Constitutional Council in Comparative Perspective. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite