การพัฒนาคุณธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลัก ฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • สุรวุฒ ณ ระนอง บริษัท สิริน ดีไซน์ จำกัด

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณธรรม, คุณลักษณะที่พึงประสงค์, ฆราวาสธรรม, ผู้บริหารองค์กร

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วมากมาย ทั้งวิวัฒนาการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยในการเปลี่ยนแปลงนี้รวมไปถึงสภาพจิตใจของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะองค์กรภาครัฐส่วนใหญ่ที่ต้องมีการบริหารจัดการที่ต้องมีการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยเน้นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือสิ่งที่พึงมีต่อการบริหารองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้มีตำแหน่งสูงขึ้น ความคิด ทัศนคติ ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เพราะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการประพฤติผิดทางศีลธรรมอันดีงาม ทำให้เกิดการประพฤติทุจริต ในทางที่มิชอบมากมาย ดังนั้นการพัฒนาคุณธรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารองค์กรภาครัฐนั้นจึงต้องมีทั้งความซื่อสัตย์ (สัจจะ) เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรนั้นมีความเชื่อมั่นต่อองค์กร มีการฝึกฝนตนเอง คอยขัดเกลาให้บุคลากรนั้นได้มีความรู้ในการปฏิบัติงานภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ (ทมะ) รู้จักเป็นผู้ที่ควบคุมอารมณ์ ไม่ให้ประพฤติผิดในด้านต่าง ๆ ในการบริหารจัดการองค์กร ทั้งยังคอยแนะนำให้บุคลากร ได้รู้จักใช้อารมณ์ในการทำงาน โดยไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันในองค์กร (ขันติ) เป็นผู้บริหารองค์กรที่คอยแนะนำ และเสียสละเวลาให้กับองค์กร เพราะองค์กรภาครัฐเป็นหน่วยงานที่จำเป็นต้องมีการทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม แผ่นดิน อย่างเต็มที่ (จาคะ)

References

ชาตรี เทียนทอง. (2556). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม. สืบค้น 26 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/520121.

มนพัทธ์ ปาณิกบุตร. (2562). การพัฒนาคุณธรรมที่พึงประสงค์: พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา ในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการศาสนา. วารสารรวมบทความวิจัยการศึกษาอิสระของนักศึกษาโครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, 62(71), 1-11

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

________. (2564). ชีวิตคู่ที่มีคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 51). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2514). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทย. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.

สารานุกรมเสรี. (2562). ทมะ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565, จาก th.wikipedia.org/wiki/ทมะ.

________. (2563). ฆราวาสธรรม 4. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2565, จาก th.wikipedia.org/wiki/ฆราวาสธรรม_4.

________. (2564). วิตกจริต. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565, จาก th.wikipedia.org/wiki/วิตกจริต.

________. (2565). ขันติ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565, จาก th.wikipedia.org/wiki/ขันติ.

________. (2565). สัจจะ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565, จาก th.wikipedia.org/wiki/สัจจะ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2554). เทคนิควิธีการพัฒนาจิตใจและพฤติกรรมจริยธรรม. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2565, จากwww.ocsc.go.th/sites.

สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต. (2551). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐยุคใหม่ (I AM READY). สืบค้น 27 กรกฎาคม 2565, จาก https://phuketdol.go.th/files/.

สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2557). เสียสละ (18 มีนาคม 2557). สืบค้น 26 กรกฎาคม 2565, จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=เสียสละ-18-มีนาคม-2557.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง. (2561). การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2565, จาก http://thachang-nyk.go.th/UserFiles/File/041158/song(1).pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite