การพัฒนาการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระปลัดบรรจง วิสารโท (บุญเพ็ง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารจัดการ, บัญชีทางการเงินของวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไป 2) เพื่อศึกษากระบวนการ และ 3) เพื่อนำเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดในจังหวัดปทุมธานี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสาร และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์/พระสังฆาธิการ องค์กรภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน นักวิชาการด้านศาสนา และนักวิชาการทางด้านการจัดการเชิงพุทธ โดยการเลือกแบบเจาะจง ตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เหมาะสม รวมทั้งสิ้น จำนวน 33 รูปหรือคน ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 รูปหรือคน และผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 รูปหรือคน

                ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไป จุดแข็งคือ วัดมีเจ้าอาวาสเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่งตั้งไวยาวัจกร เป็นผู้ช่วยผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการบัญชีทางการเงิน จุดอ่อนคือ ผู้บริหารคณะสงฆ์ขาดความเข้าใจในหลักการของโครงสร้าง และการบริหารจัดการระบบบัญชีที่ถูกต้อง การติดตาม ที่เป็นระบบ โอกาสคือ มีกฎหมาย กฎกระทรวงในการดูแลรักษาศาสนสมบัติ และการจัดการศาสนาสมบัติของวัดที่มีความชัดเจน อุปสรรคคือ รูปแบบบัญชีทางการเงิน (ศบว.5-ศบว.6) ค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก มีรายละเอียดที่เป็นนัยสำคัญหลายมิติ       2) กระบวนการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดในจังหวัดปทุมธานี โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดให้สอดคล้องกับกฎกระทรวง 3) การพัฒนาการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ด้าน ด้านสมุดบัญชีรายรับรายจ่ายรายวัน และด้านสมุดบัญชีงบประจำปี เพื่อพัฒนาบัญชีทางการเงินของวัดให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารจัดการที่ดี

References

กันตยา เพิ่มผล. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: บริษัทบุญศิริ การพิมพ์ จำกัด.

คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สถาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25. (2564). คู่มือการจัดทำบัญชีทรัพย์สินของวัด. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

จารุณี สิงหกุล และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2563). การพัฒนาการบริหารจัดการด้านการเงินของวัดไทยตามหลักสันติธรรมาภิบาล ศึกษากรณีวัดท่าคอยนาง อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(5), 1664-1679.

พระครูวิชิตกิจจาภิวัฒน์ (ผจญ จนฺทโชโต). (2559). การพัฒนาการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

พระครูวิสิฐพัชราจาร (ไชยยา เขมสิริ). (2557). การพัฒนาการจัดการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) และคณะ. (2561). การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย : ความสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล ทิศทางการบริหารเงินวัด ทรัพย์สินพระศาสนาในช่วงกระแสเปลี่ยนผ่าน. วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 788-798.

วีรยุทธ ยุดรัมย์. (2562). การบริหารการเงินของวัดในจังหวัดชลบุรี (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2562). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24

How to Cite