แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • อุสา วงศ์ศิริกุล บริษัท เจริญพัฒนาภัณฑ์ จำกัด

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, บุคลากร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

ในการปฏิบัติงานภายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย โดยมีบุคลากร เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งแบ่งตามภารกิจต่าง ๆ สำหรับบุคลากรส่วนท้องถิ่นนั้นมีการปฏิบัติหน้าที่ตาม แผนยุทธศาสตร์ หรือรูปแบบแผนการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีปลัดประจำท้องถิ่นนั้น ๆ ควบคุมดูแล ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับภาษีของประชาชน โดยในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บางตำแหน่งก็อาจปฏิบัติงานด้วยความแตกต่างกัน แต่สำหรับในส่วนที่ปฏิบัติงานจากการจ้างตามภารกิจขององค์กรนั้น ก็อาจมีความรู้สึกท้อแท้บ้าง ดังนั้นผู้เขียนจึงได้นำหลักพุทธธรรม หรือหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถนำไปพิจารณาปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ คือ ทัสสนานุตตริยะ การเห็น ความเห็นอันยอดเยี่ยม เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกัน ในองค์กรนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ ประการต่อมา คือ ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม เป็นการปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานภายในองค์กร บุคลากรในทุกระดับอย่างมีความเท่าเทียมกัน ให้ความสำคัญในทุก ๆ มิติขององค์กรอย่างเท่าเทียม มีปฏิบัติงานได้ดีควรยกย่อง และสุดท้าย คือ วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันยอดเยี่ยม เป็นการหลุดพ้นจากเสียงวิจารณ์ แรงกดดัน สิ่งรอบข้างเพื่อให้มีสมาธิเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กนกพร กระจ่างแสง. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 116-129.

เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้างองค์กรสินค้า (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์(ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา). นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปฐมวงศ์ สีหาเสนา. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรินทร์ กลายสุวรรณ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไฮเวย์ จำกัด. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย. (2555). คู่มือเตรียมสอบนักธรรมชั้นโท. กรุงเทพฯ: บริษัทสุขขุมวิทการพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

สมศักดิ์ พนากิจสุวรรณ. (2549). สวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2565, จาก http://local.moi.go.th/c15.ppt

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite