การบริหารกลยุทธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ในยุคไร้พรมแดน

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย ศักดิ์ตระกูล ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอส กรุ๊ป

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหาร, การแข่งขัน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารกลยุทธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในยุคไร้พรมแดน โดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ เบื้องต้นของการบริหารกลยุทธ์ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรและผู้บริหารในองค์กร โดยมีเป้าหมายสำคัญ นั่นคือ การบริหารกลยุทธ์ให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและขอบเขตของการบริหารกลยุทธ์มุ่งเป้าเพียงสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อสร้างผลประการที่ดีตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยการบริหารกลยุทธ์มาจากการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ขึ้นให้เหมาะสม กับธุรกิจหรือองค์กรโดยต้องคำนึงถึงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ซึ่งเมื่อได้กลยุทธ์มาแล้วแนวทางการบริหาร  กลยุทธ์จะชัดเจนมีทิศทางแน่นอน และให้มีการบูรณาการกับหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา โดยการนำหลักธรรมนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารกลยุทธ์เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในการเรียนรู้หลักธรรมและกลยุทธ์ระดับธุรกิจอย่างเข้าใจ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในตนเองผ่านการปฏิบัติจริง

References

โกมลมณี เกตตะพันธ์, (2559). กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 1143-1156.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นทิ้ง แอนด์ พับลิซชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สุดใจ ดิลกฑรรศนนท์. (2558). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2558). การบริหารจัดการคนเก่งเชิงกลยุทธ์ : ปัจจัยสำคัญสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน.

วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(3), 1096-1112.

Porter & Michael E., (1985). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Simon & Schuster.

Thomas L. & David J., (2012). Strategic Management and Business Policy:Toward Global Sustainability. New Jersey: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite