การจัดการองค์กรเพื่อความมั่นคงโดยอาศัยทรัพยากรมนุษย์เป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย ศักดิ์ตระกูล ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอส กรุ๊ป

คำสำคัญ:

ทรัพยากรมนุษย์, การจัดการ, องค์กร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดการองค์กรเพื่อความมั่นคงโดยอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการดำเนินงาน หน้าที่ความรับชอบ พันธกิจ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และเป้าหมายองค์กรการจัดการองค์กรซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรและผู้บริหารในองค์กรหรือหน่วยงาน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การจัดการองค์กรด้วยทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อความมั่นคงแล้ว การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในองค์กร การสนับสนุนความก้าวหน้า และส่งเสริมให้บุคลากรได้เกิดการพัฒนาตนเอง ทั้งนี้ผู้นำองค์กรต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรให้ชัดเจน ถูกต้อง โดยแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญคือ การสนับสนุนการอบรม การวางแผน การพัฒนา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการสร้างวัฒนธรรมอันดีในการอยู่ร่วมกัน มีความเข้าใจกัน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับการส่งเสริมการจัดการองค์กรด้วยทรัพยากรมนุษย์ แล้วยังต้องมีการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกด้วย รวมถึงต้องมีการทำวิจัยและพัฒนาด้วย รวมถึงให้มีการบรูณาการกับหลักธรรมพระพุทธศาสนา อันได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา เพื่อให้การจัดการงานและการปฏิบัติงานของบุคลากรบรรลุตามเป้าหมายองค์กร โดยการนำหลักธรรมนี้ไปใช้โดยการประยุกต์เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน แล้วจะทำให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ได้ถึงทางแก้ปัญหาได้

References

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2555). ทิศทางกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของธนาคารแห่งประเทศ ไทยเพื่อเตรียมรับ AEC. Journal of HR Intelligence, 7(1), 55-59.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2551). การพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พระพุทธศาสนา.

ไพบูลย์ ตั้งใจ. (2554). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานตามหลักอิทธิบาท 4. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพจน์ อินหว่างและคณะ. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2560). การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภาคกลาง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

เสาวภา เมืองแก่น. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2558). การบริหารจัดการคนเก่งเชิงกลยุทธ์ : ปัจจัยสำคัญสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(3), 1096-1112.

Friedman, S. (2015). Work+Home+Community+Self : skill for integration every part of your life. Harvard Business Review, (Spring), 98-102.

Nadler, L. & Wiggs, G.D. (1989). Managing Human Resources Development. SanFrancisco, California: Jossey-Bass.

Ulrich, D. & Brockbank, W. (2005). The HR Value Proposition. Boston: Harvard Business School Press.

Walton, J. (1999). Strategic Human Resource Development. Harlow: Financial Times Prentice Hall.

Womack, J.P., Jones, D.T., & Roos, D. (1990). The Machine That Changed The World. New York: MacMillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite