การพัฒนานโยบายสาธารณะกับการศึกษาไทย ยุค 4.0

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ วัฒนกูล สำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, นโยบายสาธารณะ, การศึกษาไทยยุค 4.0

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีความมุ่งหมายสะท้อนให้เห็นถึงการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาล ไทย ซึ่งนโยบายสาธารณะ เป็นแนวทางกิจกรรม หรือการกระทำที่รัฐบาลใช้ในการดำเนินงาน เพื่อส่งมอบบริการสาธารณะในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข ด้านการสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ไปสู่ประชาชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ การศึกษาของประเทศไทยที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้หมดไปได้ โดยเฉพาะปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และความพร้อมของโรงเรียน ซึ่งเป็นประเด็นที่ มักมีการนำมาผูกโยงว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง โดยในส่วนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หากพิจารณา ตามแนวคิดของทฤษฎีระบบถือได้ว่าเป็นประสิทธิผลของการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ส่วนความพร้อมเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น สำหรับการศึกษาไทยยุค 4.0 เป็นแนวทางหนึ่งที่รัฐบาลกำหนดขึ้น โดยมีจุดเน้นสำคัญเกี่ยวกับการที่ ผู้เรียนนอกจากจะได้รับความรู้แล้ว ยังจะต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต และทักษะ การคิดวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถสร้างผลผลิตหรือนวัตกรรมสร้างสรรค์ การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการศึกษามีลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ มีการนำ ความรู้หลากหลายด้านเข้ามาศึกษาเพื่อผลสัมฤทธิ์ที่ดี รวมทั้งควรให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปีและ การศึกษาในยุค 4.0 เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด โดยพบว่าการศึกษายุค 4.0 มีความ เป็นสหวิทยาการในการนำเอาศาสตร์ด้านต่าง ๆ มาประกอบการศึกษา รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ภาคส่วน ต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมถึงแม้ว่าจะยังไม่มากนัก

References

ปกรณ์ ปรียากร.(2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การเมืองท้องถิ่น: การเมืองของใคร โดยใครเพื่อใคร. กรุงเทพฯ: จตุพรดีไซด์.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2553). สาธารณบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2548). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

The United National Educational. (1982). Scientific and cultural. Organization: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite