แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, ความรุนแรงในครอบครัว, การมีส่วนร่วมของชุมชน; ความรุนแรงในครอบครัว; การป้องกันอาชญากรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของชุมชนเทศบาลเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมสนทนากลุ่มย่อยผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ผู้นำชุมชน และสมาชิกในชุมชน รวม 18 คน
ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลเมืองนางรองมีการกำหนดนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไว้อย่างชัดเจนโดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังระดับพื้นที่ อย่างไรก็ตามพบปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่สำคัญคือ คนในชุมชนมีทัศนคติที่ไม่ค่อยอยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว จึงได้มีการกำหนดแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่สำคัญ 3 มาตรการ ได้แก่ 1. การใช้มาตรการในระดับครอบครัวโดยการสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนด้านองค์ความรู้ให้กับครอบครัว 2. การใช้มาตรการในระดับชุมชนโดยการจัดกิจกรรมในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและ 3. การใช้มาตรการในระดับชาติโดยรัฐควรกำหนดแผนแม่บทหรือยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้ความสำคัญกับการใช้กระบวนการยุติธรรมชุมชนในการระงับข้อพิพาทด้านความรุนแรงในครอบครัว
References
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2560). ตาวัย 75 คว้าอีโต้ฟันคอหลาน 17 สุดทนเมาขอเงินขู่ฆ่า-ทำร้ายพ่อ. สืบค้น 15 มีนาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news.
โกวิทย์ พวงงาม. (2562). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์ธรรมสาร.
ไทยโพสต์ออนไลน์. (2562). พ.ต.ท.ใช้สายเตารีดผูกคอตาย คาดเครียดเรื่องงาน หนี้สิน-ปัญหาครอบครัว. สืบค้น 15 มีนาคม 2563, จาก https://www.thaipost.net/main/detail.
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). คลอดลูกในห้างฯ สรุปคดีทิ้งทารกที่นางรอง แม่เบ่งออกมาที่ห้องน้ำ. สืบค้น 15 มีนาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/northeast.
นฎกร คาประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2548). อาชญากรรม การป้องกัน: การควบคุม (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์พรทิพย์การพิมพ์.
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). สถิติความรุนแรงในครอบครัวสูงขึ้น 33% พบฆ่ากันตายเพิ่ม 70% ส่วนใหญ่เป็นผัวฆ่าเมีย. สืบค้น 15 มีนาคม 2563, จาก https:mgronline.com.
พรชัย ขันตี และคณะ (2543). ทฤษฎี และงานวิจัยทางอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.
มติชนออนไลน์. (2561). เพราะรักฝ่ายเดียว! หนุ่มอ้างเหตุยิงดับ เมีย-พ่อตา เผยเหมือนถูกหลอกแต่งงานเอาสินสอดตร.จับได้ก่อนฆ่าตัวตายตาม. สืบค้น 15 มีนาคม 2563. จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_920243.
ยงยุทธ แสนประสิทธิ์. (2554). รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). พบผลสำรวจ 'ความรุนแรงในครอบครัว' 34.6%. สืบค้น 15 มีนาคม 2563. จาก https://www.thaihealth.or.th.
อังคณา อินทสา. (2558). กระบวนการปรับพฤติกรรมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษามูลนิธิหญิงชายก้าวไกล (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Authur, Dunham. (1985). Community Welfare Organization. New York: Thomas y. Crowell company.
Gans, H. (1962). The Urban Villagers. New York: The Free Press.
Hirschi, Travis. (1969). Causes of Delinquency. Berkeley: University of California Press.
Peter Du Soutoy. (1962). The Organization of a Community Department Program. London: Oxford University Press.
Walter C. Reckless. (1973). The Crime Problem. California: Goodyear Publishing Co. Inc.
William W. Reeder. (1974). Some Aspects of The Informal Social Participation of Families in New York State. New York: Cornel University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น