ความรับผิดทางอาญา และพระธรรมวินัยของภิกษุสงฆ์กรณีศึกษา พระภิกษุรับของโจร

ผู้แต่ง

  • พระมหาอำนาจ อจฺฉริยเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  • ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วรพจน์ ถนอมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความรับผิดทางอาญา, ตามพระธรรมวินัย, พระภิกษุรับของโจร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความรับผิดทางอาญาของพระภิกษุสงฆ์ 2. เพื่อศึกษาความรับผิดตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ 3. เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญา และความรับผิดตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ และ 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุง ความรับผิดทางอาญา และพระธรรมวินัยของภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า 1. ตามประมวลกฎหมายอาญา ใช้บังคับพระภิกษุสงฆ์ เช่นเดียวกันบุคคลที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ความรับผิดทางอาญา คือ กระทำโดยเจตนา และกระทำโดยประมาท ความผิดฐานรับของโจร มีองค์ประกอบภายนอก คือการได้มาจากการกระทำความผิด และภายใน คือ เจตนา เมื่อมีผู้กล่าวโทษ ก็จะมีการไต่สวนมูลฟ้องตามกระบวนการพิจารณาความอาญา 2. บทบัญญัติของพระพุทธเจ้า ใช้บังคับเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้กำหนดเรื่องลักไว้ 7 เรื่อง ตรัสว่า พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก 3. การเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญา และความรับผิดตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ ในส่วนของความรับผิดทางอาญา 1. ใช้บังคับกับบุคคล และอยู่ในราชอาณาจักรไทย 2. มีกระบวนการวิธีพิจารณาในการไต่สวนมูลฟ้องที่คล้ายคลึงกัน 3. พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวน แต่งตั้งจากหลายหน่วยงาน 4. เมื่อมีการกล่าวโทษ พระภิกษุต้องสึกทันที 4. โทษของความผิด หากผลการสอบสวนว่ามีความผิดก็ต้องติดคุก หรือทั้งจำทั้งปรับตามที่กำหนดไว้ 5. ผลการสอบสวน หากไม่มีความผิด และพระภิกษุผู้ถูกกล่าวหายังไม่กล่าวคำในการสึก ถือว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ 4. เสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุง 1. ให้เพิ่มโทษบุคคลที่นำของโจรมาถวาย 2. เพิ่มข้อกฎหมาย ในส่วนของพระธรรมวินัย การลงนิคหกรรมภิกษุสงฆ์ 1.ยกเลิก หรือแก้ไขมาตรา 29 จากพระภิกษุที่ถูกกล่าวหา ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดการดำเนินการให้พระภิกษุสละสมณเพศ เป็นให้ผู้ถูกกล่าวหา ผ่านกระบวนการไต่สวนตามพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นเสียก่อน

References

กรมการศาสนา. (2560). ศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พงษ์ธร ธัญญศิริ. (2552). ย้อนดูอดีต เพื่อก้าวสู่อนาคต กฎหมายอาญาไทย. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 2(2), 133-146

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

วิกิพีเดีย. กฎหมายอาญา. สืบค้น 12 มีนาคม 2563, จาก https://th.wikiipedia.org.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite