พุทธวิธีส่งเสริมความพึงพอใจในการให้บริการของคลินิกทันตกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์เสาวนีย์ มิตรธรรมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงษ์พัฒศ์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, ความพึงพอใจ, คลินิกทันตกรรม

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมกับความพึงพอใจ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการให้บริการของคลีนิคทันตกรรมในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 2,689 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจคุณภาพการให้บริการต่อการให้บริการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับความพึงพอใจกับการให้บริการของ พบว่า หลักสังคหวัตถุธรรมกับความพึงพอใจกับการให้บริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการให้บริการ พบว่า 1. ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ คลินิกมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยมีคุณภาพ 2. ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ คลินิกให้บริการด้วยความถูกต้องแม่นยำตามหลักวิชาการ 3. การตอบสนองต่อผู้รับบริการ ใส่ใจในการให้บริการเป็นอย่างดี อัธยาศัยดีเป็นกันเองมีน้ำใจ

References

กระทรวงสาธารณะสุข. (2564). ระบบรายงานสนับสนุนข้อมูลสุขภาพ. สืบค้น 20 มิถุนายน 2564, จาก https://phdb.moph.go.th/main/index/site/16

จุรีรัตน์ แก้วปัญญา. (2560). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของบุคลากรฝ่ายสารบบคดี สำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิภา อาจริยาภิบาล. (2561). การปรับใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการให้บริการประกันชีวิตในจังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุษบา นาไสยา. (2560). ประสิทธิผลการให้บริการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอภูเรือจังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปัณณธร เทียนชัยพฤกษ์. (2552). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลกรุงเทพ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระธนิต อธิจิตฺโต (คงเนียม). (2561). การบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิจังหวัดชัยภูมิ (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พฤกษา พุทธรักษ์. (2551). การบริการจัดการสหกรณ์การเกษตรตามหลักสังคหวัตถุ 4 : กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรในเขตจังหวัดนครนายก (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รภัสสา พานิกุล. (2552). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการจัดหางานของรัฐตามหลักสังคหวัตถุ : กรณีศึกษาศูนย์จัดหางาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงาน (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2561). การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อธิปพัฒน์ ธนธาวินวงศา. (2560). แนวทางในการดำเนินธุรกิจบริการเชิงพุทธบูรณาการ: กรณีศึกษาสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2562). การบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อำเภอวังน้อย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

TWC Writing. (2564). ความต่างของ คลินิกทันตกรรม แต่ละประเภท. สืบค้น 3 มกราคม 2564, จาก:// twcwriting.com/2019/02/13/ความต่างของ-คลินิกทันตกรรม

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite