การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธธรรม
คำสำคัญ:
ทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนา, เชิงพุทธธรรมบทคัดย่อ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมที่สร้างขวัญกำลังใจ และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรในองค์กรนำศักยภาพของตนมาทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรเกิดความรู้สึกที่ดี รักและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ทุ่มเทกำลังการและกำลังใจพัฒนางาน เพื่อสร้างความก้าวหน้า และความมั่นคงให้กับองค์กร และการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ให้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะช่วยให้องค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งหลักพุทธธรรมที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นหลักธรรมที่มุ่งเน้นด้านการค้นหาสาเหตุของปัญหาอุปสรรคในดำเนินงาน จนสามารถนำมากำหนดเป้าหมายโดยทำเป็นยุทธศาสตร์ และแนวทางในการดำเนินหนทางไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ เป็นหลักธรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพและ ความมั่นคงเจริญก้าวหน้า นอกจากนี้ผู้บริหารต้องมีวิธีการและหลักการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคนเข้าสู่เป้าหมาย โดยนำหลักธรรม “มรรค8 ประการ” เข้ามาเป็นหลักปฏิบัติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ดังนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความจำเป็นต้องใช้หลักการพัฒนาสมัยใหม่ผสมผสานเข้าด้วยกันกับหลักการทางพระพุทธศาสนาและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของสังคมปัจจุบัน
References
ดนัย เทียนพุฒ. (2537). กลยุทธ์การพัฒนาคน: สิ่งท้าทายความสำเร็จของธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 33). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระครูชลธารคุณากร (ถาวโร). (2560). มรรค คือวิธีปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์และปัญหาต่าง ๆ. วารสารปัญญาปณิธาน, 2(2), 18-27.
สาโรช บัวศรี. (2526). จริยธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
เสกสรรค์ สนวา. (2560). หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ว่าด้วยมิติเชิงพุทธ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติสุขภาพ มิติการศึกษา และมิติทางการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
แสง จันทร์งาม. (2544). อริยสัจจ์ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสรรค์บุคส์ จำกัด.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอชอาร์เซ็นเตอร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น