การส่งเสริมหลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ:
การส่งเสริมหลักพุทธธรรม, การปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
บทความนี้การนำเสนอแนวคิดในการส่งเสริมหลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ หลักไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา มาประยุกต์ในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น นโยบายด้านการบริหาร สิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร ด้านโครงสร้างขององค์กร วิทยาการ
ต่าง ๆ ที่ใช้ในองค์กรและการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ทุกคนต้องมีความสอดคล้องตรงกันในการกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ และบุคคลจะปฏิบัติตามบทบาทใด ๆ บทบาทหนึ่ง เมื่อบุคคลเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กรแล้วก็ต้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน โดยพยายามยอมรับทำความเข้าใจรับรู้ ในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ การส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรนั้นส่งผลต่อปฏิบัติงานทั้งต่อบุคคลและองค์กร มุ่งหวังให้บุคลากรมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ความพยายามในการทำงาน การสนับสนุนจากองค์กร รูปแบบแสดง ได้ดังนี้ 1. ลักษณะเฉพาะบุคคล 2. ระดับแรงจูงใจระดับความพยายาม 3. แรงสนับสนุนจากองค์กร และองค์ประกอบภายในตัวบุคคล
การส่งเสริมหลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง 1) วัฒนธรรมประเพณีและความปรารถนาของสังคมที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่ง 2) ลักษณะขององค์กรที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่ง 3) ตัวบุคคล บุคลิกภาพและความต้องการหรือความจำเป็นเฉพาะตัวของบุคคล
References
ดารณี จุนเจริญวงศา. (2548). การจัดการความรู้. ชลบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3.
นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2549). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 122). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ). (2543). คู่มือมนุษย์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
มัลลิกา คณานุรักษ์. (2547). จิตวิทยากับการสื่อสารของมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมจิตต์ สุพรรณทัศน์. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษา. หน่วยที่ 1-7 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง. (2562). ตัวแบบทฤษฎีการนานโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 95-116.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
J.W. Getzels. (1957). Creativity and Intelligence: Exploration with Gifted Students. New York: Wiley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น