การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ณัชธิญา ปัทมทัตตานนท์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง)

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงในสถานศึกษา, การบริหารความเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาคือเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการศึกษานั้นนอกจากจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความเจริญให้กับประเทศแล้ว การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่กับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข การบริหารสถานศึกษาจึงมีความสำคัญเนื่องจากเป็นการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษา หากระบบการบริหารสถานศึกษาไม่เหมาะสมก็จะไม่สามารถทำให้การศึกษาบรรลุเป้าหมายได้ แต่ในขณะเดียวกันระบบการจัดการศึกษาก็มีปัญหาที่ต้องเผชิญอยู่หลายด้าน ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของระบบการบริหารจัดการศึกษาก็คือ “ความเสี่ยง” ดังนั้น “การบริหารความเสี่ยง” จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ความไม่แน่นอน หรือความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรค หรือลดโอกาสที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายหรือลดผลกระทบที่เกิดกับสถานศึกษาหรือให้เกิดน้อยที่สุดจึงต้องมีการบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องดำเนินการเพื่อให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายโดยผ่านกระบวนการบริหารความเสี่ยง

References

กระทรวงการคลัง. (2562). แนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐเรื่องหลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2553. (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ต์ ซินดิเคท.

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร. (2556). คู่มือการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 2556. สืบค้น 4 กันยายน 2564, จาก https://www.pdmo.go.th.

กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

จันทนา สาขากรและคณะ. (2554). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทีพีเอ็น เพรส.

ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(วิทยานิพนธ์ปริญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธร สุนทรายุทธ. (2550). ปัจจัยความเสี่ยงภายในและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการของคณะศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

_____. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยาหลักการ การประยุกต์และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เนติกุลการพิมพ์.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยง Risk Management. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

วิวัฒน์ ตู้จำนงค์. (2560). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. (2562). คู่มือการบริหารความเสี่ยงสำนักงานปลัด กระทรวงการคลังประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้น 6 มกราคม 2564, จาก https://psdg.mof.go.th/th/view/attachment/file/3134353438/%E0.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประจำปีบัญชี 2562. สืบค้น 5 มกราคม 2564, จาก http://edf.moe.go.th/web/wp- content/uploads/2019/.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. สืบค้น 5 มกราคม 2564, จาก https://hrold.moph.go.th.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และคณะ. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษานนทบุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัญชนา ณ ระนอง. (2559). การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite