การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแห่ง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โกเมศ ขวัญเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่, ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย 2. เพื่อศึกษาโครงสร้าง ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบที่มาของตุลาการรัฐธรรมนูญ โครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีกับศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเอกสาร และการวิจัยทีเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเนื้อหาสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องเคารพต่อหลักความชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ทั้งนี้ ถือหลักการที่ว่ารัฐสภาเป็นองค์กรของผู้แทนปวงชนซึ่งเป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตยย่อมไม่กระทำการขัดต่อกฎหมายและรัฐธรรมนูญ การที่รัฐสภาตรากฎหมายซึ่งเป็น การกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ร่วมกันของผู้แทนปวงชน 2. ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ผู้ที่มีคุณสมบัติจะเป็นผู้พิพากษาได้ต้อง สำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายและบุคคลนั้นจะต้องมีอายุ 40 ปี และต้องเป็นนักนิติศาสตร์ที่ ได้รับการฝึกฝนมาอย่างชัดเจน สำหรับราชอาณาจักรไทย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมิได้จำกัดเพียงแค่ต้องจบ การศึกษาทางด้านนิติศาสตร์ เพราะรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ผู้มีทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง 3. อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและ ราชอาณาจักรไทย แตกต่างกันตามสภาพการเมืองแต่ละประเทศ แต่ทำหน้าที่หลักในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีกระบวนการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายก่อนการประกาศใช้และภายหลังการประกาศใช้เช่นเดียวกับของราชอาณาจักรไทย

References

โกเมศ ขวัญเมือง. (2555). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภูทับเบิก.

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2535). “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ: บทวิเคราะห์” ในรวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นวม สงวนทรัพย์. (2542). สาเหตุความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชน เล่ม 3 : ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 4.

Koopman, T. (2003). Courts and Political Institution, A Compartive Views. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite