พุทธจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการผลิตสื่อออนไลน์ของอุตสาหกรรมหนังสั้นในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปัญจรัศม์ กนกพรธนัญชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประสิทธิ์ พุทธศาสน์ศรัทธา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจริยธรรม, ความรับผิดชอบต่อสังคม, อุตสาหกรรมหนังสั้น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความรับผิดชอบต่อสังคม 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพุทธจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคม 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการนำพุทธจริยธรรมกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการผลิตสื่อออนไลน์ของอุตสาหกรรมหนังสั้นในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 194 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1. ความรับผิดชอบต่อสังคมในการผลิตสื่อออนไลน์ของอุตสาหกรรมหนังสั้นในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 2. หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสัมพันธ์ต่อความรับผิดชอบต่อสังคมในการผลิตสื่อออนไลน์ของอุตสาหกรรมหนังสั้นในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก หลักจริยธรรมของสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์ต่อความรับผิดชอบต่อสังคมในการผลิตสื่อออนไลน์ของอุตสาหกรรมหนังสั้นในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก 3. ปัญหา อุปสรรค ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อออนไลน์ ต้องเข้าใจเรื่องกฎระเบียบ ข้อบังคับหรือกฎหมายในการผลิตสื่อออนไลน์อย่างถูกต้องและผลิตสื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อออนไลน์ ต้องกล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ บนพื้นฐานของหลักกฎระเบียบของรัฐ และหลักคุณธรรม

References

นรินทร์ นำเจริญ. (2547). การวิเคราะห์เนื้อหาที่เสริมสร้างสันติภาพในสื่อมวลชนท้องถิ่น: ศึกษากรณีการนำเสนอข่าวชาวเขาในหนังสือพิมพ์รายวัน จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาธฤติ รุ่งชัยวิทูร. (2558). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเชิงพุทธ. สยามวิชาการ, 15(2), 80-94.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2546). ทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ไทยของผู้ชมภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุจน์ ศานติวิวัฒน์กุล. (2561). การสร้างสรรค์เนื้อหาภาพยนตร์สั้นเชิงพาณิชย์ในเรื่องอารมณ์บนสื่อออนไลน์ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศุภวิชญ์ นักเรียง. (2554).ปัญหาและอุปสรรคการรายงานข่าวของผู้ส่งข่าวภาคสนามตามนโยบายรัฐบาลในการชุมนุมของกลุ่มการเมือง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อนุชา สังขกุล. (2552). นโยบายและบทบาทของรัฐในการกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวความขัดแย้งทางการเมืองภาคประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัญประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite