เศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ศักยภาพ, ทุนมนุษย์บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมีความสำคัญกับเศรษฐกิจในระดับต้น ๆ ของรายได้ประเทศ ภาวการณ์ที่มีโควิด 19 ระบาดทำให้การท่องเที่ยวได้ผลกระทบ แต่เศรษฐกิจของประเทศยังต้องอาศัยการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นเหตุให้ต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สอดคล้องกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลก ที่มีลักษณะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และไทยยังมีศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า บุคลากรเป็นทุนมนุษย์ทางการท่องเที่ยวที่จะต้องส่งเสริมและฝึกอบรมให้มีศักยภาพพร้อม โดยเฉพาะการฝึกฝนและเพิ่มทักษะให้มีความสามารถพร้อมในการแข่งขันกับนานาประเทศ เช่น ทักษะทางด้านการสื่อสารภาษาต่าง ๆ การให้บริการด้วยใจมีมิตรไมตรี และการปรับปรุง การเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย ในการใช้ยานพาหนะสาธารณะมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว อีกทั้งช่วยให้การท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติและวิถีชีวิตยังสามารถทำรายได้แก่ท้องถิ่น รักษาวัฒนธรรมและขายสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่นได้อีกด้วย การพัฒนาทุนมนุษย์มีการครอบคลุมทั้งสามมิติคือ มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม มิติทางด้านเศรษฐกิจสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และมิติทางด้านสังคม เหตุนี้การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจึงอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งสิ้น
References
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN). (2558). แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559 - 2568. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก https://secretary.mots.go.th/download/StrategicActionPlan/2568_2559AseanTourismStrategicPlan.pdf.
นิศา ชัชกุล. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และคณะ. (2562). การบริหารจัดการและการจัดตั้ง Virtual Tourism Academy เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของประเทศ : แผนงานวิจัย (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.
เวิร์คพอยท์ทูเดย์. (2565). เศรษฐกิจฟื้นตัว ททท.คาดนักท่องเที่ยวเข้าไทยปี 66 สูงถึง 18 ล้านคน. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก https://workpointtoday.com/economy-tourism/
Butler W. R. (1999). Sustainable tourism: A state‐of‐the‐art review. Tourism Geographies 1(1), 2-7.
Dann, G.M. (1981). Tourist motivation an appraisal. Annals of Tourism Research, 8(2), 187-219.
Gratton, L. (2003). Managing Personal Human Capital. European Manaagement Journal, 21(1), 1-10.
World Tourism Organization (WTO). (1995). What Tourism Managers Need to Know: A Practical Guide to the Development and Use of the Indicators of Sustaina-ble Tourism. Madrid; Spain.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น