ถอดบทเรียนจากการเดินธุดงค์ธรรมยาตรา (ครั้งที่ 9) การมีส่วนร่วมกิจกรรมของ มจร

ผู้แต่ง

  • พระครูกิตติญาณวิจักษ์ (จักรกฤษณ์ กิตฺติญาโณ) วัดเนินตากแดด

คำสำคัญ:

ถอดบทเรียน, การเดินธุดงค์ธรรมยาตรา, มจร

บทคัดย่อ

การถอดบทเรียนจากการเดินธุดงค์ธรรมยาตรา (ครั้งที่ 9) ประจำปี 2566 ที่จัดโดย หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้นิสิต อาจารย์ มีกิจกรรมร่วมกัน การฝึกจิต และมีความสามัคคีกันจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ พบว่า 1.การสมาทานธุดงค์และธรรมยาตรา ที่หลักสูตรบัณฑิตศึกษาฯ ได้จัดขึ้น ได้พาคณะนิสิตสมาทานธุดงค์ อย่างน้อย 3 ข้อ คือ  1. เตจีวริกังคะ การถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร สำหรับพระภิกษุ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นฆราวาสมีการนุ่งห่มสีขาวตลอดโครงการ  2. เอกาสนิกังคะ การถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร 3. รุกขมูลิกังคะ การถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรการได้เดินธุดงค์ธรรมยาตราตั้งแต่วัดที่เป็นที่พักไปจนถึงเขื่อนลำตะคอง ระยะทางไป - กลับประมาณ 12 กิโลเมตร ทุกคนต่างมีความอดทนและพยายามเพื่อให้ถึงเป้าหมายเป็นการฝึกให้มีสติ 2.โครงการธุดงค์ธรรมยาตราได้แนวคิดของการนำหลักของธุดงค์ มาสร้างเป็นองค์ความรู้และมีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกิจกรรม ที่เกิดความสามัคคี การมีส่วนร่วมและเป็นการปฏิบัติธรรม 3.กิจกรรมดังกล่าว เป็นการเผยแผ่เชิงสัญลักษณ์ เพื่อความสันติเป็นสัญลักษณ์แห่งความไม่เบียดเบียน มีแต่ความอภัยทาน และสิ่งสำคัญ คือ สามารถฝึกสติของผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ฝึกความอดทน

References

กองอนุศาสนาจารย์ ยุทธศึกษาทหารเรือ. (2545). นาวิกศาสตร์. นครปฐม: กรมยุทธศึกษาทหารเรือ.

ชนาภา ศรีวิสรณ์. (2563). กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2538). สันติวรบทเอกสภาวธรรมในสู่ศานติเสรี: 50 ปีสันติภาพไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด 3 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

ศรียุดา อนุวรรณะวิภาค. (2551). แนวคิดเรื่องการทำงานคือการปฏิบัติธรรมของท่านพุทธทาส. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี). (2533). คัมภีร์สุทธิมรรค เล่ม 1 วิปัสสนามูลนิธิวัดมหาธาตุ งานเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นดิ้ง กรุ๊ฟ.

สมเด็จพระสมณจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2534). ธรรมวิภาค ปริเฉจที่ 2 หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท (พิมพ์ครั้งที่ 38). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์. (2566). คู่มือการเดินธุดงค์ – ธรรมยาตรา ครั้งที่ 9. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัย.

ณัฐมล พรมหา. (2563). ความหมาย การอยู่ร่วมกัน และองค์ประกอบของสังคม. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://sites.google.com/.../khwam-hmay-kar-xyu-rwm-kan-laea-xngkh-prakxbkhxng-sangkhm

UNICEF. (2005). Social Mobilization. Retrieved February 10, 2023, from http://www.fao.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite