หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

ผู้แต่ง

  • ณิชาพัฒน์ คำดี นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาท 4, การปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

อิทธิบาท 4 นั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สำเร็จตามความประสงค์ นำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิดความสำเร็จและเป็นแรงเสริมกำลังใจ ประโยชน์ของอิทธิบาทธรรม คือ ฉันทะ มีประโยชน์กับบุคลากรในการทำงานซึ่งช่วยขจัดความเบื่อหน่ายในการทำงาน ให้รู้สึกอยากทำงาน ไม่ท้อแท้ เมื่อพัฒนาคตนเองให้มีความอดทนแล้วบุคลากรย่อมมีกำลังต่อสู้ป้องกันสร้างสรรค์สิ่งที่ตนรัก ทำให้งานหนักกลายเป็นงานเบา ที่ยากก็กลายเป็นง่าย, วิริยะ มีประโยชน์กับบุคลากรในการทำงานซึ่งช่วยกำจัดความเกียจคร้าน ให้บุคลากรทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่กลัวความลำบาก หนักแค่ไหนก็ไม่ ย่อท้อ เมื่อบุคลากรนำมาพัฒนาตนเองแล้วย่อมประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายามเข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย มีความเพียรในการตามประกอบความดี ความบากบั่นในการขวนขวายแสดงหารู้ใหม่ ๆ และประสบการณ์เกี่ยวการงานที่ตนบริหารจัดการ ด้วยความกล้าหาญ, จิตตะ มีประโยชน์กับบุคลากรในการทำงานซึ่งช่วยให้มีความจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ ความมีจิตผูกพัน ไม่ปล่อยปละละเลยในงานที่ทำ เมื่อพัฒนาตนเองแล้วย่อมบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ และวิมังสา มีประโยชน์กับบุคลากรในการทำงานซึ่งช่วยในเรื่องความไตร่ตรองพิจารณาเหตุผลสิ่งนั้น ด้วยสติปัญญา ความรู้ เมื่อพัฒนาตนเองอย่างเสมอย่อมพบข้อบกพร่องก็รีบแก้ไขทำให้ดียิ่งขึ้น

References

เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2545). การบริหารรัฐกิจ แนวคิด หลักการและการปฏิบัติ. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัดขอนแก่นการพิมพ์.

ชุมศักดิ์ ชุมนุม. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ : กรณีศึกษา เขตการศึกษา 10. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2546). ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตุลา มหาสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

พระมหาอำนาจ ปวฑฺฒโน. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์กร : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2544). ทฤษฎีองค์กรประสิทธิภาพ รวมบทความสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรนาท ขมะณะรงค์. (2540). นโยบายสาธารณะและหลักการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-122.

Gibson. J.L. (1979). Organization: Behavior. Structure and Processes (3rd). Dallas. Texas: Business Publications.

Herbert A. Simon. H. A. (1960). Administrative Behavior. New York: McMillan.

John D. Millet. J.D. (1954). Management in The Public Service. New York: Hill.

Peterson. E. & Plawman. E.G. (1953). Business Organization and Management. Illinois: Richard D. lrwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite