มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการจับกุมบุคคลไว้โดยอำนาจรัฐ ในราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

  • พระครูภาวนาโชติคุณ (กุ้ยไฮ้ ชุตินฺธโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วรพจน์ ถนอมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, การจับกุมบุคคล, อำนาจรัฐในราชอาณาจักรไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการออกหมายจับของศาลและขอบเขตของกระบวนการออกหมายจับตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทยและกฎหมายต่างประเทศ  2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหน้าที่ของศาลในฐานะเป็นองค์กรตรวจสอบการถ่วงดุลในการออกหมายจับเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางความเป็นไปได้ในการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวบข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสังเคราะห์ เรียบเรียง นำเสนอผลงานเชิงพรรณนานาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

          ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักการดำเนินคดีอาญาโดยผู้เสียหาย เป็นเรื่องของผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือบุคคลที่ใกล้ชิดของผู้เสียหายกระทำการดำเนินคดีเอง เป็นในรูปของการแก้แค้นเป็นการส่วนตัวหรือทำสงครามระหว่างกลุ่มชนที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐทำหน้าที่เป็นคนกลางตัดสินความถูกผิดรวมถึงการบังคับให้ผู้กระทำความผิดรับผิดตามข้อเรียกร้องของผู้เสียหาย 2. การวิเคราะห์ถึงบทบาทการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหน้าที่ของศาล พบว่า เหตุออกหมายจับหรือหมายขังที่เป็นเหตุหลักและเหตุรอง เหตุออกหมายจับหรือเหตุออกหมายขังนั้น มีทั้งเหตุที่เป็นเหตุหลัก และเหตุที่เป็นเหตุรอง 3. อัยการมีบทบาทในสำนวนคดีต่อเมื่อพนักงานสอบสวนได้เสนอสำนวนให้อัยการแล้ว ซึ่งเป็นการล่าช้าเกินไปที่จะคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในคดี โดยเฉพาะผู้ต้องหาซึ่งไม่อาจได้รับความยุติธรรมอย่างเต็มที่ได้ เนื่องจากพยานหลักฐานที่สำคัญในคดีอาจถูกบิดเบือน หรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่มีระบบการตรวจสอบ

References

ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ.ศ. 2548. (2548, 16 มีนาคม 2548). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอน 23 ก. หน้า 26.

คณิต ณ นคร. (2551). ภูมิธรรมและบทบาทของพนักงานอัยการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่พิเศษระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา. (2547, 19 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนที่ 8 ก. หน้า 46.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547. (2547, 23 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79 ก. หน้า 1.

ไพศาล วัตตธรรม.(2549). การคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการออกหมายจับ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

รัชนีกร บุญพิทักษ์. (2547). ศึกษากรณึการตรวจสอบกระบวนการก่อนการอกอหมายจับกับการ รับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานหรือพยานหลักฐานในการออกหมายจับของศาล(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, ๖ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก. หน้า 1.

อุดม รัฐอมฤต. การฟ้องคดีอาญา. วารสารนิติศาสตร์, 22(2), 59-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite