การเสริมสร้างสันติสุขครอบครัวเพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างสันติสุขครอบครัว, การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน, ความสัมพันธ์ในครอบครัวบทคัดย่อ
การเสริมสร้างสันติสุขครอบครัวเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างสมาชิกตั้งแต่พ่อแม่กับลูก ปู่ย่าตายายกับหลาน ครอบครัวที่มีการเสริมสร้างสันติสุขที่ดี จะต้องมีลักษณะหลายประการ เช่น การพูดคุยเสมอ ๆ การแสดงถึงความรักใคร่ห่วงใย รวมทั้งปรึกษาเมื่อมีปัญหา ส่วนครอบครัวที่มีลักษณะตรงกันข้าม คือ ขาดการสื่อสาร ขาดความเข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญกับสมาชิกในครอบครัว ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหานำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กและเยาวชน ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวควรมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสันติสุข เพราะจะช่วยลดปัญหาพฤติกรรมที่นำไปสู่การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน
บทความวิชาการนี้ผู้เขียนได้นำเสนอแง่มุมของครอบครัวที่มีการเสริมสร้างสันติสุขที่ดี โดยได้นำเรื่องราวความสำคัญของครอบครัว จุดเริ่มต้นที่นำปัญหาไปสู่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชน มุมมองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด ทั้งนี้เพื่อให้สังคมตื่นตัวถึงสันติสุขในครอบครัว ให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วม เพื่อลดปัญหาระหว่างกัน และเพื่อแก้ไขความผิดที่เกิดขึ้น
References
กุลภา วจนสาระ. (2554). ภาพและชีวิตครอบครัวในสังคมไทย (รายงานสังเคราะห์จากฐานข้อมูล). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี และ อุนิสา เลิศโตมรสกุล. (2553). การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในประเทศไทย : แนวทางในการป้องกันและแก้ไขโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นวลฉวี ประเสริฐกุล. (2558). สื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุขในครอบครัว. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 737-747.
บังอร เทพเทียน และคณะ. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับครอบครัวเข้มแข็ง. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 6(2), 25-38.
ปรียา บำรุงเสนา. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างเชาว์อารมณ์กับสัมพันธภาพในครอบครัวของนักเรียนระดับมัธยมตอนปลาย (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ผดุง อารยะวิญญู. (2542). เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: แก่นแก้ว.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2547). การศึกษาและการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวในครอบครัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2560). สัมพันธภาพครอบครัวกับปัญหาการกระทำความผิดในวัยรุ่น. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 361-371.
วิณารัตน์ สุขดี และคณะ. (2559) โมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 1416-1429.
ศิริกุล อิศรานุรักษ์. (2542). หลักการวางแผนงานอนามัยครอบครัว. กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.
สุชาติ อินประสิทธิ์. (2555). สาเหตุการกระทำความผิดทางอาญาของเด็ก เยาวชนที่มีอาการบอบช้ำทางจิตใจ (Trauma) แนวทางป้องกันและแก้ไขเยียวยาที่เหมาะสม. (รายงานการอบรมหลักสูตรผู้พิพากษา ผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่10). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.
สุพัชรีย์ หนูใหญ่. (2544). ความสัมพันธ์ในครอบครัวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
Aichhorn, A. (1963). Wayward Youth: A Psychoanalytic study of Delinquent Children, illustrated by Actual Case histories. Co; Revised edition.
Fisher. (1987). An Approach to Family Pathology. San Francisco: W.H. Freeman.
Hamilton, I et al., (1996). Family assessment: resiliency, coping and adaptation: inventories for research and practice. Madison, Wis: University of Wisconsin Publishers.
Hardwick, P J & Rowton-Lee M A. (1996). Adolescent Homicide: Towards Assessment of Risk. Journal of Adolescence, 19(3), 263-276.
Healy, W. & Bronner, A. (1931). New light on delinquency and its treatment. New Haven: Yale University Press.
Howard, Zehr. (2002). The Little Book of Restorative Justice. United States of America: Skyhorse Publishing.
Irene, G & Herbert, G. (2004). Family therapy An Overview (6th ed). U.S.A: Brooks & Cole.
Jelena, L et al. (2010). Longitudinal associations between adolescent behavior problems and perceived family relationships. Procedia Social and Behavioral Sciences, 5, 785-790.
ManSoo, Yu. Et al. (2010). Positive family relationships and religious affiliation as mediators between negative environment and illicit drug symptoms in American Indian adolescents. Addictive Behaviors 35, 694–699.
Sampson, R.J., & Laub, J.H. (1992). Crime and deviance in the life course. Annual Review of Sociology, 18, 63-84.
Vance, H. B. & Remriega, A.J. (2001). Clinical Assessment of Child and Adolescent Behavior. Canada: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น