การจัดการดูแลผู้ป่วยในอนาคตด้วยการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การจัดการดูแลผู้ป่วย, ประสิทธิผล, การแพทย์ทางไกลบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกลจำแนกตามคุณลักษณะของโรงพยาบาล 3. เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกล 4. เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้แทนโรงพยาบาลที่ดูแลการแพทย์ทางไกล จำนวน 364 คน และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 18 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ F-test การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลพบว่า 1.การการดูแลผู้ป่วยในระบบออนไลน์ที่ใช้สื่อโซเชียลเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการบริการสุขภาพทางไกลการสร้างโอกาสการถ้าเข้าถึงบริเวณระบบบริการสุขภาพของรัฐเพิ่มประสิทธิผลการดูแลการพัฒนาโรงพยาบาลให้มีการบริหารทางด้านการดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกลในปัจจุบันและอนาคต 2. ประสิทธิผลการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกล จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะของโรงพยาบาล พบว่า ประเภทโรงพยาบาล ประเภทการดูแลรักษาที่ให้บริการ จำนวนบุคลากรให้บริการประจำ ระยะเวลาในการให้บริการ สถานที่ตั้งโรงพยาบาล (6 ภาค) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.แนวทางการจัดการดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกลในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยมี ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร และด้านการจัดบุคลากร มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลต่อประสิทธิผลการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์ทางไกลได้ร้อยละ 54.0 (Adjusted R2 = 0.540) 4. แนวทางการส่งเสริมความรู้ความสามารถงานการแพทย์ทางไกล การพัฒนาการให้บริการการแพทย์ทางไกล การคุ้มครองการรักษาข้อมูลผู้ป่วยการแพทย์ทางไกล การบริหาการจัดการดูแลความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่/โรคอุบัติซ้ำ การสร้างจริยธรรมเพื่อแก้ไขการละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ การป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี2564-2565. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565 จาก https://www.ahsouth.com/paper/681
เริงฤทธิ์ พลเหลือ. (2563). ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานแอพพลิเคชั่นปรึกษาแพทย์ (Telemedicine Application) (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิภาวัณย์ อรรณพพรชัย. (2564). การประยุกต์ใช้ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท. วารสารมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 258-271.
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565) .สธ.ยกระดับ”หมอพร้อม”เป็นแอพลิเคชันสุขภาพเพื่อคนไทยพัฒนา 12 ฟีเจอร์หลัก ตอบโจทย์การใช้งาน. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565, จาก https://www.hfocus.org/content/2022/07/25603
อุษา ตันตพงษ์. (2564). Telehealth สำหรับการดูแลฉุกเฉินในโรคCoronavirus 2019 (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1997). Management. (2nd ed.). New York: McGraw - Hill.
Gibson, and Other, (1982). Organizational: Behavior, Structure, Process; Behavior, Dallas. Taxas: Business Publication, Inc.
Gulick, L. and Urwick, L. (1937) Papers on the Science of Administration. New York; Institute of Public Administration.
Xiaoli Wang. (2019). Impact of Telemedicine on Healthcare Service System Considering Patients’ Choice. Hindawi, Volume 2019 Article ID 7642176 https://doi.org/10.1155/2019/7642176
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น