มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการกำหนดโทษประหารชีวิต สำหรับราชอาณาจักรไทยและหลักพุทธจริยธรรม

ผู้แต่ง

  • พระครูศรีนนทวัฒน์ (นันทา นนฺทปญฺโญ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วรพจน์ ถนอมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, การกำหนดโทษประหารชีวิต, หลักพุทธจริยธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาถึงที่มา แนวคิด ทฤษฎี วิวัฒนาการ วิธีการและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษประหารชีวิต 2. เพื่อศึกษาถึงมาตรการในการบังคับใช้โทษประหารชีวิตตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทย 3. เพื่อศึกษาถึงการกำหนดบทลงโทษและสัดส่วนของการลงโทษที่เหมาะสมกับสภาพของความผิดตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทยและหลักพุทธจริยธรรม รูปแบบวิธีดำเนินการวิจัยแบบเอกสาร การรวบรวมและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่เป็นความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษประหารชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเนื้อหาสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิด ทฤษฎี วิวัฒนาการ วิธีการและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษประหารชีวิต พบว่า โทษประหารชีวิต เป็นวิธีการลงโทษประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยโทษประหารชีวิตมีลักษณะทั่วไป 2. มาตรการในการบังคับใช้โทษประหารชีวิตตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทย พบว่า กฎหมายที่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการลงโทษประหารชีวิตตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทยนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษหรือวิธีการบังคับโทษ 3. การกำหนดบทลงโทษและสัดส่วนของการลงโทษที่เหมาะสมกับสภาพของความผิดตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทยและหลักพุทธจริยธรรม พบว่า ความเหมาะสมของโทษประหารชีวิตในความผิดตามกฎหมายอาญา ได้แก่ หลักความเหมาะสมในทางนิติศาสตร์ หลักอาชญาวิทยา หลักนิติเศรษฐศาสตร์และหลักพุทธจริยธรรม

References

กรมศิลปากร. (2566). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 79 จดหมายเหตุวันวลิต (ฉบับสมบูรณ์). สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสงัด จันทราภัย ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร. 26 พฤศจิกายน 2507. สืบค้น 26 มีนาคม 2566, จาก https://www.su-usedbook.com/products_detail/view/2778607

จิตติ ติงศภัทิย์. (2546). กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์.

ณรงค์ ใจหาญ และคณะ. (2549). โครงการวิจัย เรื่อง ศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา (รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2555). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. (2564, 8 พฤศจิกายน).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก. หน้า 1.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546. (2546, 20 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 58 ก. หน้า 1.

พิชัย นิลทองคำ. (2552). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2 อาญา ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: อฑตยา มีเล็นเนียม.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 4.

วินัย พงศ์ศรีเพียร และกฤษฎา บุญสมิต. (2547). กฎหมายตราสามดวง : แว่นส่องสังคมไทย. ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ลำดับที่ 2 โครงสร้างกฎหมายตราสามดวง : การพิจารณาใหม่. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า.

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2557). โทษประหารชีวิตในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

Schneider, S.G. (2012). Sentencing Proportionality in the States. Arizona Law Review, 54(241), 241-275.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite