การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนตรรกยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • กันธิยา เส้าเปา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชำนาญ ปาณาวงษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้ตามด้วยวิธีการฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความพึงพอใจ, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบ ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนตรรกยะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา ก่อนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองลานวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้ตามด้วยวิธีการฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบ ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2. แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3. แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า มีประสิทธิภาพแบบกลุ่มเท่ากับ 92.26/80.05 และมีค่าประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100) เท่ากับ 94.09/75.41 ซึ่งสูงกว่าตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนตรรกยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78 

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวพรรณ ขำทับ และเนาวนิตย์ สงคราม. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 21-22.

ภิรดี ฤทธิ์เดช. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์วิธีการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการกำกับตนเองของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษาภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร ชินาดีย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาพยาบาล (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). O-NET ม.3. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Collins, A., et al. (1991). Cognitive Apprenticeship: Making Thinking Visible. American Educator, the journal of The American Federation of Teachers. Retrieved October 13, 2008, from http://www.kenton.k12.ky.us/DL/General/Readings/Collins_CogApp.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite