การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : ด้านการบริการ ของพนักงานธุรกิจคอนโดระดับ Luxury

ผู้แต่ง

  • ประกายหยก คงรอด มหาวิทยาลัยเกริก
  • กรวินท์ กังวล มหาวิทยาลัยเกริก
  • ทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

ทรัพยากรมนุษย์, การบริการ, พนักงานธุรกิจคอนโด

บทคัดย่อ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านบริการของพนักงานธุรกิจคอนโดระดับ Luxury เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ มีสมรรถนะด้านบริการ ให้มีการปฏิบัติงานที่เหมาะสมในด้านความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Attitude) สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior) ของบุคลากรให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นจนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้บุคลากรในด้านการบริการได้เพิ่มความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมในด้านการบริการเพื่อรองรับการขยายตัวของคอนโดมิเนียม งานด้านบริการที่มีคุณภาพจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก คุณลักษณะของพนักงานที่ต้องการ ประกอบด้านการบริการ ด้านจิตสาธารณะ ด้านทักษะทางสังคม ตามแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานธุรกิจคอนโดมิเนียมระดับ Luxury (1) มีการสอนงาน ให้กับพนักงาน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (2) มีการฝึกอบรมปฐมนิเทศเพื่อ ให้พนักงานเกิดการเรียนรู้ เข้าใจกฎระเบียบในการทำงาน (3) จัดอบรมเพิ่มเติมหลัง จากเวลาเลิกงาน และ (4) การเรียนรู้ มีการถ่ายทอดจากการทำงานร่วมกันระหว่างหัว หน้างานกับลูกน้อง และระหว่างเพื่อนร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง การให้ ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญที่จะขับเคลื่อนธุรกิจบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการยกระดับความสามารถในการปฏิบัติ งานให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วยความเป็นมืออาชีพ

References

กันตยา เพิ่มผล. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2555). การตลาดธุรกิจบริการ = Service Marketing. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ชมพู เนินหาด และคณะ. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฎไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 43-55.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2556). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ตรีเพ็ชร์ อำเมือง. (2553). คู่มือ-เทคนิคการให้บริการด้วยใจ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธงชัย สันติวงษ์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

พัณณ์อร ธรปัณณะเศรษฐ์. (2552). ทัศนะของเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเขตอุตสาหกรรมภาคกลางต่อการเสริมสร้างจิตบริการ (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนต์จรัส วัชรสิงห์. และคณะ. (2558). จิตบริการและแรงจูงใจในการทำงานที่พยากรณ์ประสิทธิภาพการให้บริการของพยาบาล. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 8(2), 115-131.

มรกต เหลืองอำนวยศิริ. และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). ลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(1), 77 - 89.

สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพ: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

อัญวีณ์ ภาชนะ. (2546) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตสำนึกของการให้บริการ : ศึกษาเฉพาะ วิชาชีพพยาบาลในโรงพยาบาลรามาธิบดี (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาภรณ์ ภูวิทยพันธ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1991). Marketing services: Competing through quality. New York: Free.

Lovelock, C. H. (1996). Services Marketing (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall.

Parker, G.M. (2007). Teamplayers and Teamwork: The New Competitive Business Strategy. San Francisco, Calif: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite