การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของ บุคลากรศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 2
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, หลักสาราณียธรรม 6, การปฏิบัติงาน, ศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 2บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรศาลเยาวชนและครอบครัวภาค 2 ใน 4 จังหวัดคือ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี และนครนายก เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้กรุงเทพมหานคร มีอัตราเติบโตสูงในด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ประชากรมีอาชีพเกษตรกร แต่มีผู้อพยพเข้ามาประกอบอาชีพ มีประชากรย้ายเข้ามามากขึ้น ทำให้เริ่มมีปัญหาสังคม ยาเสพติดและปัญหาครอบครัว เพิ่มมากขึ้นจึงนำมาสู่การวิจัยในครั้งนี้ โดยประชากรคือบุคลากรศาลเยาวชนและครอบครัวใน 4 จังหวัด จำนวน 350 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 187 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน สนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) 2. วิเคราะห์ทางสถิติปัจจัยส่งผลต่อการปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 พบว่า 1) การบริหารจัดการองค์กร มี 2 ด้าน (R Square=0.689) คือ ด้านการประสานงาน และการจัดองค์กร 2) หลักสาราณียธรรม 6 มี 4 ด้าน (R Square= 0.841) คือ ทิฏฐิสามัญญตา เมตตากายกรรม สาธารณโภคี เมตตามโนกรรม 3) การบูรณาการหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย การปฏิบัติในองค์ความรู้รวม 3 ด้าน คือ การปฏิบัติด้วยเมตตา สร้างสังคมคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี
References
จิรนิติ หะวานนท์. (2556). 60 year Biography. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พงารัตน์ มาประณีต. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(20), 88-91.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2529). ศาสตร์แห่งการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
พระครูพิบูลย์ธรรมสถิต ฐิตสุโข (ยังบุญส่ง). (2561). การนำหลักสาราณียธรรม 6 ไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลรอนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Nakhonratchasima College, 12(1), 110-121.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป .อ.ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
ภัทรพร สันตธาดาพร และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการประสานงานการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของผู้พิพากษาสมทบในสำนักงานศาลเยาวชนและครอบครัว. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ-2), 278-290.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ส่งศรี ชมภูวงษ์. (2559). สถิติสำหรับการวิจัย. นครศรีธรรมราช: สำนักส่งเสริมวิชาการ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.
สำนักงานศาลยุติธรรม สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์. (ม.ป.ป.). การจำแนก แก้ไข บำบัด ฟื้นฟูและติดตามเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรม : การจัดทำฐานข้อมูลองค์กรเครือข่ายและพัฒนาองค์กรในชุมชนเพื่อรองรับเด็กและเยาวชนตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว (บทสรุปสำหรับผู้บริหาร). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม.
อภิรดี โพธิ์พร้อม. (2554). การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนหนทางสู่ความเป็นธรรมทางสังคมอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.
Adison, A. (2019). Principles and concepts of POSDCoRB. Retrieved March 20, 2017, from 29 January 2023, จาก http://adisony.blogspot.com./2012/10/luther-gulick.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น