การจัดการความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • นิชาภา บุญยิ่งยงค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19), อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงและศึกษาการจัดการความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาครและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสมุทรสาคร และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาความเสี่ยงพบว่า ขาดการวางแผนกลยุทธ์รับมือกับข้อมูลที่มีผลต่อความเชื่อมั่นและความร่วมมือของประชาชน อุปกรณ์การป้องกันและงบประมาณไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่เป็นผู้สูงวัยที่ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง รวมถึงความหละหลวมในการปฏิบัติงานเนื่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขไม่มีอำนาจสั่งการประชาชนให้ความร่วมมือได้นอกจากรายงานผลไปยัง รพ.สต. และผลการศึกษาการจัดการความเสี่ยงพบว่าหน่วยงานสาธารณสุขกำหนดหลักสูตรเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร แจกอุปกรณ์ป้องกัน และกำหนดให้แพทย์ รพ.สต. เป็นผู้ให้คำปรึกษา มีการเยียวยาด้วยการเพิ่มเงินค่าเสี่ยงภัยและให้ความช่วยเหลือในกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือติดเชื้อแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ การติดตามประเมินผลอ้างอิงรายงานผลจำนวนผู้ติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชากรผู้ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนผ่านการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทำการบันทึกลงในระบบสาธารณสุข

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). มาตรฐานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

วิทยา ชินบุตร และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 304-318.

ศุภัคชญา ภวังคะรัต. (2563). การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

สมพร เนติรัฐกร. (2564). แนวปฏิบัติในการดำเนินการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(2), 111-120.

สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรสาคร. (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2564. สมุทรสาคร: สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรสาคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite