คุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและอัตลักษณ์บัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เดโช แขน้ำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เชษฐา มุหะหมัด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีรรมราช

คำสำคัญ:

คุณภาพบัณฑิต, มาตรฐานการศึกษาของชาติ, มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ, อัตลักษณ์บัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาคุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ เพื่อศึกษาคุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและเพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของบัณฑิต ศึกษาเชิงปริมาณกับผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 13 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.39, σ=0.59) ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้เรียนรู้อยู่ในระดับมาก (μ=4.49, σ=0.56) รองลงมาคือ พลเมืองเข้มแข็งอยู่ในระดับมาก (μ=4.44, σ=0.60) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับมาก (μ=4.26, σ=0.59) 2. คุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.37, σ =0.63) ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ จริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60, σ = 0.57) รองลงมาคือ ลักษณะบุคคลอยู่ในระดับมาก (μ=4.39, σ=0.63) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความรู้อยู่ในระดับมาก (μ=4.25, σ=0.59) 3. อัตลักษณ์ของบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.30, σ=0.65) ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีจิตสาธารณะอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.59, σ=0.55) รองลงมาคือ นักคิดอยู่ในระดับมาก (μ=4.26, σ= 0.59) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (μ=4.05, σ=0.69)

References

กฎกระทรวงมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. (2565, 31 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนที่ 20 ก. หน้า 28-31.

ขวัญชัย ขัวนา และธารทิพย์ ขัวนา. (2562). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(73), 13-22.

คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2565). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565). นครศรีธรรมราช : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. (2563). การพัฒนาผลการเรียนรู้ในด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้น 4 มิถุนายน 2566 จาก http://sciso.sakaeo.buu.ac.th/scisobuusk/?p=7925&lang=th.

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2563). บัณฑิตพัฒนาชุมชน : วิเคราะห์ผลสำรวจและแนวทางพัฒนาคุณลักษณะ ตามอัตลักษณ์ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(1), 17-32.

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2563). แนวทางพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตพัฒนาชุมชนตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 15(2), 144-155.

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2564). แนวทางพัฒนาคุณภาพบัณฑิตพัฒนาชุมชนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(1), 51-68.

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.). (2562). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) 20 (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.).

ธารทิพย์ ขัวนา และขวัญชัย ขัวนา. (2562). สะเต็มศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้สู่ทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(73), 1-12.

นพพร จันทรนำชู. (2564). วิธีเชิงปริมาณสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์: ประเภท ทิศทาง และข้อเสนอเพื่อพัฒนางานวิจัย. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 1(1), 1-19.

นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ และคณะ. (2563). การบริหารจัดการหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาบัณฑิตและท้องถิ่น. พิฆเนศวร์สาร, 16(2), 11-26.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 144-163.

ปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2562). การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ร่วมกันในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(4), 95-119.

ปาริฉัตร ศรีหะรัญ และพรพิมล ขำเพชร. (2566). ผู้ประกอบการเพื่อสังคม: ความหมาย และสมรรถนะหลักที่พึงมีสู่การประกอบการทางสังคมที่ยั่งยืน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 15(1), 67-78.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2563). สารแสดงความยินดีจาก อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. สืบค้น 4 มิถุนายน 2566, จาก https://congratulations.sru.ac.th/2563/?page_id=4936.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2558). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้น 4 มิถุนายน 2566, จาก https://www.nstru.ac.th/th/view/detail/5/ปรัชญา-วิสัยทัศน์-พันธกิจ.

เรวัต แสงสุริยงค์. (2559). การวิจัยเชิงปริมาณทางสังคมศาสตร์ในโลกใหม่: บทสำรวจเบื้องต้น. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(3), 798-814.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2564). วิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ สู่วิธีการวิจัยแบบผสม. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 3(1), 1-16.

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2566). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร หลักสูตรศิลปะศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ประจำปีการศึกษา 2565. นครศรีธรรมราช: สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). มาตรฐานการศึกษาของชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษาของคนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2566). ระบบสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิต. สืบค้น 4 มิถุนายน 2566, จาก https://race.nstru.ac.th/home_ex/student_job/.

สุทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อาจารีย์ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2564). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 11-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite