การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, กระบวนการบริหารจัดการ, หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4, บุคลากรธุรกิจก่อสร้างบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ บุคลากรกลุ่มธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร จำนวน 386 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 8 รูปหรือคน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตของบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร พบว่า ทั้ง 8 ด้าน ผลการวิจัยอยู่ในระดับมากทุกด้าน แต่ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสมดุลระหว่างหน่วยงานกับชีวิตส่วนตัว 2) กระบวนการบริหารจัดการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการปรับปรุงแก้ไข และด้านการปฏิบัติตามแผนตามลำดับ และ 3) หลักทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านคบหาคนดีเป็นมิตร (กัลยาณมิตตตา) ด้านความขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) ด้านเลี้ยงชีวิตแต่พอดี (สมชีวิตา) และด้านรักษาทรัพย์ (อารักขาสัมปทา) ตามลำดับ
References
บุญทัน ดอกไธสง. (2562). เอกสารการเรียนวิชาสัมมนาองค์กร และการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดสิทธิชัย วิสุทฺโธ (หว่านผล). (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(2), 194-207.
พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร พระสุวิจักขณ์ กุลยศชยังกูร และพระสมพร อนาลโย (สะอิ้งรัมย์). (2562). การประยุกต์ใช้ศีล 5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์. วารสารธรรมวิชญ์, 2(2), 293-303.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระมหานิพนธ์ วีรพโล (ทบแก้ว). (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิศิต ธีรวํโส. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-02), 493-506.
พุทธชาติ ลุนคำ. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-2567: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.krungsri.com.
ภูรีภัทร ห้วยหงส์ทอง. (2562). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริพร ไชยชนะ. (2561). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมค่านิยมของการประปานครหลวง. วารสาร มจร. สังคมปริทรรศน์, 7(4), 24-37.
ศิริพร ลือวิภาสกุล. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ) นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 101-116.
ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2565). รับเหมาวิกฤตแห่ปิดกิจการวัสดุแพงหยุดประมูลงานรัฐ. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.reic.or.th/News/RealEstate/455731.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น