ถอดบทเรียนเครือข่ายจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่ ตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ทิวาพร หกขุนทด คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กัลยา แซ่อั้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เครือข่าย, การจัดการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและรูปแบบของเครือข่ายจัดการการท่องเที่ยว และ 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของเครือข่ายจัดการการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาจากการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ประธานของกลุ่ม กรรมการของกลุ่ม และผู้แทนจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งสิ้น 8 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างและรูปแบบของเครือข่ายจัดการการท่องเที่ยวภายในชุมชน เป็นลักษณะรูปแบบของเครือข่ายทางสังคม ประกอบไปด้วยตัวแสดงภายในเป็นตัวแสดงหลัก และตัวแสดงภายนอกเข้ามาสนับสนุนในบางกิจกรรม การดำเนินงานของเครือข่ายอยู่ในแนวราบ มีการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันภายในเครือข่าย 2) การดำเนินงานของเครือข่ายจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เน้นการพึ่งพาอาศัยคนและทรัพยากรในพื้นที่เป็นหลักในการขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยว เป็นการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีองค์ประกอบในทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัตนธรรม ด้านองค์กรชุมชน ด้านการจัดการ และด้านการเรียนรู้ ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมของชุมชนอย่างยั่งยืน.

References

ชรินดา วิเศษรัตน์ และชนาภา นิโครธานนท์. (2564). การถอดบทเรียนกระบวนการการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 225-241.

เชภาดร จันทร์หอม และคณะ. (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สงขลา: โฟ-บาร์ด.

ทิพย์วิมล ประเสริฐศรี และคณะ. (2564). การถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านปูเต้อ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 94-108.

ทิพย์วิมล แสงสุวรรณ. (2561). บทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน กรณีศึกษา: กลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). (2565, 24 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกขา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. หน้า 40-41.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้และการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ ไทย ออฟเซต.

วัลลภ วรรณโอสถ และสันติธร ภูริภักดี. (2560).องค์ประกอบด้านมาตรฐานโฮมสเตย์ที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. Veridian E-Journal Silpakorn University, 12(4), 859-572.

วาทินี สนลอย. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านริมคลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite