การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานไปรษณีย์ไทย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อนุวัฒน์ พรหมอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • แสงจิตต์ ไต่แสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, พนักงานไปรษณีย์ไทย

บทคัดย่อ

       

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาและระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานไปรษณีย์ไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี.กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานไปรษณีย์ไทย (ฝ่ายปฏิบัติการ) ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน และวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานไปรษณีย์ไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านจิตใจ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานไปรษณีย์ไทย ได้แก่ องค์กรควรสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยง จัดให้มีจุดบริการให้คำปรึกษา จัดให้มีการอบรม/สัมมนา จัดแผนผังของสถานที่ทำงานให้เหมาะสม มีการปรับปรุงอัตราผลตอบแทน และมีการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีความกระชับ รัดกุม เพื่อความสุขในการทำงาน

References

ทิพยวรรณ์ ฤทธิ์เย็น และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานขับรถหัวลาก บริษัทสยามชอร์ไซด์เซอร์วิส จำกัด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 52–62.

นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

บิสเนสทูเดย์. (2562). ไปรษณีย์ไทยปรับกลยุทธ์การตลาด ตั้งเป้าอันดับ 1 อินโดไชน่า รายได้ทะลุแสนล้านใน 5 ปี. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก https://www.businesstoday.co/bt-news/19/12/2019/16762/

ไปรษณีย์ไทย. (2564). ประวัติความเป็นมาของ ปณท. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565, จาก https://file.thailandpost.com/upload/content/256462e8c2f07d9ff.pdf

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. (2565). โครงสร้างองค์กร. สืบค้น 22 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/aboutus/0/672

ภัสธารีย์ นาเมืองรักษ์. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ จันรจนา. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 160–174.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Kanokwan Makmek. (2565). ไปรษณีย์ไทยปีนี้จะขาดทุนลดลง ส่วนปีหน้าตั้งเป้า เป็นบริษัท Zero Complain. สืบค้น 30 ธันวาคม 2565, จาก https://workpointtoday.com/thailand-post-zero-complain/

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (3rd Edition). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite