การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมัคร อติภทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักอปริหานิยธรรม, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนและ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 358 คน จากประชากร 3,358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 รูปหรือคนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีระดับความคิดเห็นที่มีต่อต่อส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง 3.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ หลักอปริหานิยธรรม เป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ระดับประชาชนทั่วไปจนถึงผู้นำหรือผู้บริหารประเทศ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

จินตนา กะตากูล. (2562). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

จินตนา จงฤกษ์งาม. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแจ้งซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระนิคม จนฺทธมฺโม (สุขเจริญ). (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการเมืองการปกครองตามแนวแห่งธรรมาธิปไตย ในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาวิษณุ วิสารโท (พานนนท์). (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสำราญ นนทพุทธิ (ทะสูนย์). (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2553). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.

ศราวุธ ศรีแสงใส. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการครู: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรพล สุยะพรหม. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทำงการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite