พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจขายปลีกขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุจิตตรา สวาทยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, ธุรกิจขายปลีก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติถดถอย การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจขายปลีกขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจขายปลีกขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี พบว่า การปฏิบัติงานตามหลัก 7S ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้ร้อยละ 71.8 และหลักพละ 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้ร้อยละ 70.7 3. รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร มีปัจจัยพื้นฐาน คือ การปฏิบัติงานตามหลัก 7S นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักพละ 4 ประกอบด้วย 1. ปัญญาพละ กำลังความรู้ 2. วิริยพละ นำสู่การปฏิบัติ 3. อนวัชชพละ ซื่อสัตย์สุจริต 4. สังคหพละ มีจิตอาสา

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพานิชย์. (2565). ธุรกิจขนาดเล็ก จังหวัดปทุมธานี. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=69

ณภัทร ปิณฑรัตน์. (2555). คุณลักษณะของผู้นำองค์กรตามหลักพละ 4 ในธุรกิจประกันภัย (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. ปริ้นติ้งแมส โปรดักส์ จำกัด.

ภวัต นิตย์โชติ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพละ 4 ของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสงขลา (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วงเพชร คงจันทร์. (2556). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับหลักกฎหมาย : กรณีศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจัยกรุงศรี. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-2564 : อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.krungsri.com/

วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาใน ประเทศไทย. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 217-231.

สมคิด บางโม. (2561). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พัฒนวิทย์การพิมพ์.

สุขญา บุญพิพัฒน์ และคณะ. (2561). การจัดการสินค้าในร้านค้าปลีก. กรุงเทพฯ: ออลบุ๊คส์ในเครือบริษัท เอ เอ็ม เอ ฮาร์ท จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite