รูปแบบความสำเร็จของการจัดการซัพพลายเชน ในธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • บุษกร ญาณสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กาญจนา โพธิวิชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เอื้ออัมพร ทิพย์ทิฆันพร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจัดการ, ความสำเร็จ, โลจิสติกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับของนโยบายภาครัฐต่อธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ความพึงพอใจในระเบียบข้อบังคับของรัฐ ความสามารถของผู้ประกอบการ การสร้างความได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จของการจัดการซัพพลายเชนในธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ จากการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ โดยมีที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งตามชั้นภูมิ ในสัดส่วนที่เท่ากัน จำนวน 320 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.847 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่าระดับของนโยบายภาครัฐต่อธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ความพึงพอใจของระเบียบข้อบังคับของรัฐ ความสามารถของผู้ประกอบการ การสร้างความได้เปรียบเทียบทางการแข่งขันอยู่ในระดับมาก และความสำเร็จของการจัดการซัพพลายเชนในธุรกิจโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กิตตินาท นุ่นทอง และภัทรพล ชุ่มมี. (2562). รูปแบบคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 18(2), 26-41.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล และกัญญมน กาญจนาทวีกูล. (2562). แนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 7(5), 1447-1459.

ชลาทิพย์ ชัยโคตร. (2560). การบริหารราชการไทย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ฐาปนี เรืองศรีโรจน์. (2562). โอกาสและอุปสรรคของผู้ให้บริการจัดเก็บและคลังสินค้าของไทยที่มีต่อการเปิดเสรีการค้าบริการด้านโลจิสติกส์สาขาการจัดเก็บและคลังสินค้า. วารสารวิทยาการจัดการ, 26(1), 15-32.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2561). โครงการแนวทางการพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ SMEs. งานวิจัยเทคนิคการจัดการโลจิสติกส์ (รายงานวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนวิทย์ ฟองสมุทร์. (2561). การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาโลจิสติกส์ในองค์กร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 สถาบันวิจัยและพัฒนา. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

นิตยา สุภาภรณ์. (2564). การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนภาคตะวันออก โดยใช้การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 15(1), 176-196.

ปัญญธิดา อัตบุตร. (2558). ทฤษฎีระบบราชการ. Bureaucracy: Max Weber.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2562). องค์การ ปี 2019. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 2(1),. 258-273.

อณิกร ดอนแก้ว. (2561). การรับรู้นโยบายสาธารณะของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาของบุคลากรสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัมพวรรณ หนูพระอินทร์ และธีราวรรณ จันทร์แสง. (2562). โลจิสติกส์กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ยุค 4.0. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(1), 118-129.

Frese, M. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa: A. Psychological Approach. United States of America: Greenwood Publishing.

Jones, R. G. & George, M. J. (2003). Contemporary Management (3rd ed). New York: McGraw –Hill.

Paul, S. K., & Chowdhury, P. (2020). A production recovery plan in manufacturing supply chains for a high-demand item during COVID-19. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 51(2), 104-125.

Hair, J. F., et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A global perspectives. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, International.

L’Hostis, A., et al. (2019). Societal Trends Influencing Mobility and Logistics in Europe: A Comprehensive Analysis. In Towards User-Centric Transport in Europe. Springer: Cham.

Stamboulis, Y. (2014). Entrepreneurship education impact on student attitudes. The International Journal of Management Education, 12(3), 365-373.

Ziyadin, S., Sousa, R. D., Suieubayeva, S., Yergobek, D., & Serikbekuly, A. et al. (2020). Differentiation of logistics services on the basis ABC analysis. E3S Web of Conferences, 159, 04034.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite