พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ทองดี ปาโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ฆราวาสธรรม 4, การบริหารงานที่ดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานที่ดี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานที่ดี และนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ด้านการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย ได้แก่ ด้านการปรับปรุงการดำเนินการ ได้ค่าเฉลี่ย 4.14 และหลักฆราวาสธรรม 4 ได้ค่าเฉลี่ย 4.03 3. รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานที่ดี ได้แก่ การบริหารตามหลัก PDCA โดยปัจจัยพื้นฐานในส่งเสริมการบริหารงานที่ดีนำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักฆราวาสธรรม 4 คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ

References

กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2564). การพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด. (2565) โครงสร้างบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด. สืบค้น 18 ธันวาคม 2565, จาก https://www.jobtopgun.com/article/บริษัท-อายิโนะโมะโต๊ะ.

พระมหาเทวประภาส วชิราณเมธี (มากคล้าย). (2559). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานิพนธ์ วีรพโล (ทบแก้ว). (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิรัชย์ ศรีราม. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยหลักพุทธธรรมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชนี ปิยะธำรง. (2561). บทบาทและปัญหาความแตกต่างในการทำงาน: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมของไทย. วารสารศาสนาและวัฒนธรรม, 7(2), 51-90.

วรรณกานต์ ขาวลาภ. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารเชิงพุทธบูรณาการของกระทรวงแรงงาน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2560). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นในจังหวัดปราจีนบุรี. Joumal of Rangsit Graduate Studies in Business and Social Sciences, วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(2), 75-89.

Darawong. (2013). C.Expatriate Management for the era of ASEAN Free Trade. Business Administration Journal, 2(2), 28-39.

Sukegawa. (2013). S. Trend of Investment and Movement of Japanese AffiliatesToward ASEAN Economic Community (AEC) Era. Japanese Studies Journal, 3(2), 23-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite