กระบวนการการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
กระบวนการ, การจัดการ, ขยะมูลฝอยของวัดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการในการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการพรรณนาโวหาร
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการในการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย ด้านการวางแผน พระสงฆ์ในวัดและทางหน่วยงานใช้หลักบวร บ้าน วัด ราชการ มาจัดการขยะมูลฝอยให้มากขึ้นจัดทำอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นจะประสานงานการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้น ด้านลงมือทำ มีการจัดตั้งคณะกรรมการติดตามการปฏิบัติงาน การลงมือปฏิบัติงาน ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขสถานที่ต่าง ๆ ที่ยังไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ด้านการตรวจสอบ หัวหน้าที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาสคอยดูแลควบคุมเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย มีคณะกรรมการตรวจสอบการทำงาน ด้านการแก้ไข เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรมีเข้าใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยมากขึ้น ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้พื้นที่่วัดเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2547). คู่มือปฏิบัติ: การนำขยะมูลฝอยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับวัดในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). คู่มือแนวปฏิบัติการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ในหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้โครงการ ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2561). วัดกับการจัดการสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://datacenter.deqp.go.th/service-portal/g-green/Thailandgreenerligion/bhudist-andenvironment.
พระครูสังฆรักษ์อนันต์ สุทฺธิมโนและคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 171 - 182
พระธรรมรัตนาภรณ์. (2563). คู่มือและแนวปฏิบัติ โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขโดยคณะกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม. นนทบุุรี: นิติธรรมการพิมพ์.
พระบุญธรรม ชุ่มเย็น และคณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของวัด จังหวัดปทุมธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(1), 332 - 343.
พระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน และคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 198-209.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น