การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง ของราชอาณาไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา

ผู้แต่ง

  • พระครูสุตวรธรรม วรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โกเมศ ขวัญเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กฎหมายรัฐธรรมนูญ, สถาบันการเมือง, ราชอาณาไทย, ราชอาณาจักรกัมพูชา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกฎหมายรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา 2. เพื่อศึกษาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา 3. เพื่อศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบสถาบันการเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันรัฐบาล และสถาบันรัฐสภา ของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เพราะกัมพูชานั้นเคยเป็นรัฐในอาณานิคมของชาติตะวันตกมาก่อนจึงทำให้พระมหากษัตริย์พยายามที่จะทำให้ประเทศได้รับเอกราชโดยมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองจากเจ้าอาณานิคมคือฝรั่งเศส 2.สาระสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา 2.1) รูปแบบรัฐ 2 ประเทศมีรูปแบบรัฐเป็นรัฐเดี่ยวตามรัฐธรรมนูญของประเทศเหมือนกัน 2.2) รูปแบบประมุขแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้พระมหากษัตริย์ขึ้นสู่ตำแหน่งโดยการสืบราชสันตติวงศ์ ส่วนราชอาณาจักรกัมพูชาประมุขขึ้นสู่ตำแหน่งโดยการคัดเลือกของสภาราชบัลลังก์ 2.3) รูปแบบการปกครอง ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชามีรูปแบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2.4) รูปแบบรัฐสภา รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชานั้นใช้รูปแบบสภาคู่ทั้งสองประเทศ 3. รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ได้บัญญัติเรื่องสถาบันการเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สถาบันประมุข สถาบันฝ่ายบริหารหรือสถาบันรัฐบาล สถาบันรัฐสภาหรือสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติ และสถาบันตุลาการ โดยสถาบันการเมืองของทั้ง 2 ประเทศมีเฉพาะ 3 สถาบัน ได้แก่ 1) สถาบันประมุข 2) สถาบันรัฐบาล และ 3) สถาบันรัฐสภา

References

เชิดชาย บุตรดี. (2552). บทบาทเจ้าสีหนุต่อการเมืองกัมพูชา ระหว่าง ปี 1941 – 1978. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 5(1), 97-120.

ณัฐกร วิทิตานนท์. (2557). หลักรัฐธรรมนูญเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัณฑิตย์ ธนาธนะ. (2519). การศึกษาการปกครองของเจ้าสีหนุฯ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยบุตร แสงกนก. (2558). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองกัมพูชา : จากความขัดแย้งทางการเมืองสู่การสถาปนานิติรัฐประชาธิปไตย (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หยุด แสงอุทัย. (2503). คำถาม-คำตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พร้อม คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2502 และคำอธิบาย ของ ดร. หยุด แสงอุทัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แม่บ้านการเรือน.

Kershaw, Poger. (2001). Monarchy in South-East Asia. London: Routledge.

Jörg, M. (2008). Constitutionalism in Southeast Asia. Singapore: Konrad-Adenauer-Stiftung.

Taseesak Kanyochai. (2565). ปัญหาทางการเมืองของไทย, BBC 07 Around The World, สืบค้น 2 เมษายน 2565, จาก: http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/pol/45.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite