การส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้าน เชิงพุทธบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย ศักดิ์ตระกูล ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซ่งเฮง อินเตอร์เทรดดิ้ง

คำสำคัญ:

กองทุนหมู่บ้าน, การบริหาร, ประสิทธิภาพ, หลักพละ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ และนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 341 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ทั้ง 5 ด้าน คือ 1. ด้านการมีส่วนร่วม 2. ด้านความคิดสร้างสรรค์ 3. ด้านความสามารถในการรวมกลุ่ม 4. ด้านความสามารถของคณะกรรมการ 5. ด้านการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ผลการวิจัยอยู่ในระดับมากทุกด้าน แต่ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถของคณะกรรมการ แสดงให้เห็นว่าความสามารถของคณะกรรมการมีอิทธิพลต่อการบริหารกองทุนหมู่บ้านเป็นอย่างมาก และ 2. รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ มีปัจจัยพื้นฐาน คือ พุทธบูรณาการส่งเสริมโดยการบูรณาการหลักพละ 4 เพื่อเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดเป็นพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้าน และยังนำกระบวนการบริหารงานมาใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งเสริมการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ

References

กรมพัฒนาชุนชน กระทรวงมหาดไทย. (2565). แนวนโยบายของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สืบค้น 21 มีนาคม 2565, จากhttp://www.villagefund.or.th

กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2565). สรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานกองทุน หมู่บ้าน. สืบค้น 19 มกราคม 2565, จาก http ://www.cdd.go.th/pdf

กัมพล ราชวงษ์ และคณะ. (2558). การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพในองค์กรอสังหาริมทรัพย์โดยใช้หลักธรรมาภิบาล:กรณีศึกษาบริษัทแสนสิริจำกัด (มหาชน). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1), 16-34.

ณภัทร ปิณฑรัตน์. (2555). คุณลักษณะของผู้นำองค์กรตามหลักพละ 4 ในธุรกิจประกันภัย (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัด นครนายก. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 7(2), 210-222.

บุญคลอง เรืองแสน และคะนอง พิลุน. (2559). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการเมืองการปกครอง การบริหาร-การจัดการการบริหารทรัพยากรมนุษย์-นโยบาย, 6(1), 133-150.

พยุงศักดิ์ ใจตรง. (2555). ความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองต่อการ ปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รินทอง แก้วทุม. (2560). การบริหารการพัฒนาเชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์. (2557). แบบจำลองการบริหารเชิงพุทธบูรณาการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 217-231.

ศิริรัตน์ คลังเย็น. (2556). การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). รายงานผลการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จาก http://www.opm.go.th/pdf

สำนักงานพัฒนาชุมชนประจำจังหวัดชัยภูมิ. (2565). ข้อมูลสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิ.สืบค้น 15 มิถุนายน 2565, จาก http ://www.chaiyaphum.cdd.go.th.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 21 สิงหาคม 2565, จาก http://www.nesdc.go.th/แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สุรินทร์ธร ศิธรกุล. (2557). ผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

William E.D. (2560). PDCA: Deming Cycle. Retrieved January 23, 2565, from http://adisony.blogspot.com/edward-deming.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite