พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
หลักอิทธิบาท 4, การบริหารงาน, ยุทธศาสตร์, อุตสาหกรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 283 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่า การบริหารงานตามหลัก PDCA ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ ได้ร้อยละ 69.0 และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ ได้ร้อยละ 26.6 3. รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่า การบริหารงานตามยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีปัจจัยพื้นฐาน คือ การบริหารงานตามหลัก PDCA นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ ความพึงพอใจในงาน วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร จิตตะ เอาใจใส่ในงาน วิมังสา ใช้ปัญญา ทำให้เกิดการบูรณาการ คือ เป้าหมายชัดเจน เน้นพัฒนาปัจจัยสนับสนุน และกระตุ้นสมรรถนะรับการเปลี่ยนแปลง
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2564). กฎหมายและข้อบังคับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564, จาก https://www.dip.go.th/th
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2565). แผนภูมิโครงสร้างและอัตรากำลังคน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.dip.go.th/th
กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. (2565). พลิกโฉมประเทศไทยสู่ เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน. สืบค้น 5 ธันวาคม 2565, จาก https://www.ldd.go.th/PDF/DevelopmentPlanNo.13.pdf
ธีระพล บุญตาระวะ. (2564). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม (มั่งคั่ง). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนตรี พรมวัน. (2563). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ. (2564). การบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กร. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564, จาก https://job.ocsc.go.th/
สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). พื้นฐานทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น