การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชน โดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชัชนิธิฐา ชัชวาลวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การพัฒนา, ภาวะผู้นำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเยาวชน ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชน และนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชน  รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร พบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำ ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชน ได้ร้อยละ 68.3 และหลักสัปปุริสธรรม 7 ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชน ได้ร้อยละ 82.8  3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร พบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชน มีปัจจัยพื้นฐาน คือ การพัฒนาภาวะผู้นำ นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักสัปปุริสธรรม 7 ทำให้เกิดการบูรณาการ ได้แก่ พัฒนาความรู้ความสามารถ เก่งกาจด้านสื่อสาร เชื่อมั่นตนเองจนเชี่ยวชาญ ประสานจิตโน้มน้าวใจ และฤทัยสภาพอ่อนโยน

References

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2546). กล้าเปลี่ยนแปลง ก้าวกระโดด ข้ามสิ่งที่เป็นอยู่สู่สิ่งที่ต้องการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น บมจ.

ปกรณ์ มหากันธา. (2557). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนุชิต นาคเสโน และพระครูปริยัติวรเมธี (ทิพย์มณี). (2565). การสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(1), 80-88.

แม่ชีวงเพชร คงจันทร์. (2556). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับหลักกฎหมาย : กรณีศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วุเวศ กลับศรี. (2557). ภาวะผู้นำที่ควรพัฒนาในเยาวชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 6(2), 132-140

สำนักงานเขตคลองเตย. (2565). ข้อมูลเขตคลองเตย. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2565, จาก https://webportal.bangkok.go.th/

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอน...เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: สุคนธ์ สินธพานนท์.

สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิชาติ พานสุวรรณ. (2558). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์นิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อัมพร วงศ์โสภา. (2555). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โอฬาร์ ปัญญปิติพัฒน. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite