การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อวยชัย รางชัยกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพละ 4, สมรรถนะการปฏิบัติงาน, สำนักงานเกษตรจังหวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงาน และนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร  รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 334 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี พบว่า การปฏิบัติงานตามหลัก 7S ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้ร้อยละ 72.0 และหลักพละ 4 ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้ร้อยละ 84.3 3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากร มีปัจจัยพื้นฐาน คือ การปฏิบัติงานตามหลัก 7S นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักพละ 4 ประกอบด้วย 1. ปัญญาพละ กำลังความรู้ 2. วิริยพละ นำสู่การปฏิบัติ 3. อนวัชชพละ ซื่อสัตย์สุจริต 4. สังคหพละ มีจิตอาสา

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชลบุรี (พ.ศ.2561 – 2565). ชลบุรี: สำนักเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี.

กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตรสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี. (2565). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชลบุรี (พ.ศ.2566 - 2570) ฉบับทบทวน. สืบค้น 5 ธันวาคม 2565, จาก https://www.opsmoac.go.th/

ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2565). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. สืบค้น 7 มกราคม 2565, จาก http://competency.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2011/01/aboutcompetency.pdf

ประกาศิต ชัยรัตน์. (2560). หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสันติบาล. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 2(22), 4-5.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).

พระมหาวิศิต ธีรวํโส (กลีบม่วง). (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสกล ฐานวุฑฺโฒ (วงษ์เขียด). (2563). รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อการพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์กร: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงาน ก.พ. (2565). การพัฒนาข้าราชการ. สืบค้น 6 มกราคม 2565, จาก https:// www.ocsc.go.th/csti

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite