การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, การพัฒนากีฬาอาชีพ, การกีฬาแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทย ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ตัวอย่างบุคลากรของการกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 307 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 18 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อยืนยันผลการศึกษาเชิงปริมาณจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กรกีฬาอาชีพให้มีมาตรฐานและสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนให้เติบโตอย่างยั่งยืน การจัดการระเบียบข้อบังคับให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพอย่างมีธรรมาภิบาลและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง ยกระดับมาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพ พัฒนานักกีฬาและบุคลากรกีฬาอาชีพเข้าสู่เส้นทางกีฬาอาชีพตามมาตรฐานสากล 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทย พบว่า กระบวนการบริหารจัดการ และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทย พบว่า การส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทย นำหลักอิทธิบาท 4 เข้ามาประยุกต์เรียกว่า พุทธศาสตร์การกีฬา เพื่อนำมาสู่การพัฒนางานกีฬาอาชีพ คือ ฉันทะ: มีใจรักในการกีฬา วิริยะ: พากเพียรทำงานกีฬาอย่างมุ่งมั่น จิตตะ: ติดตามตรวจสอบงานกีฬาอย่างแข็งขัน วิมังสา: รอบคอบแก้ไขให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570). กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสต์ชาติ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ กันสิงห์. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชนในมหาวิทยาลัย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและการกีฬา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิงห์คำ มณีจันสุข. (2562). การบริหารจัดการสวัสดิการสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรีชา ศิริรัตน์ไพบูลย์. (2562). การพัฒนารูปแบบส่งเสริมกีฬาเยาวชนของชมรมกีฬาในสังกัดสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 326-338.
อรวิภา จรูญจารุวัฒนา. (2559). การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 กับการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 183-184.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น