แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนชุมชนตำบลศาลาลอย อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • แสงจิตต์ ไต่แสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, กลุ่มอาชีพ, ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทพื้นฐานของ และ 2. ศึกษาแนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนชุมชน ตำบลศาลาลอย อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน ผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 1 คน และเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน รวมทั้งหมด 3 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสัมภาษณ์ และสมาชิกกลุ่มอาชีพในชุมชน จำนวน 14 คน โดยใช้การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการกำหนดรหัสให้กับข้อมูลและแบ่งแยกประเภทของข้อมูลตามรหัสที่กำหนดพร้อมทั้งนำข้อมูลมาจัดแบ่งประเภท

ผลการวิจัยพบว่า บริบทพื้นฐานของชุมชน ตำบลศาลาลอย อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพ อาชีพหลักของชาวบ้านในพื้นที่ รับจ้างค้าขาย มีระบบสาธารณูปโภค การวิเคราะห์จุดแข็ง พบว่า สมาชิกมีการส่งเสริมการขาย มีทักษะในการสื่อสารโน้มน้าวใจ สามารถใช้สื่อออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว จุดอ่อน: ยังไม่มีตลาดรองรับ และยังไม่มีแผนที่ชัดเจนว่าจะกระจายสินค้า สมาชิกยังอยู่ในขั้นตอนแรกของการก่อตั้งกลุ่ม และไม่มีเงินทุนตั้งต้น โอกาส: มีตลาดนัดใหญ่ในการกระจายผลิตภัณฑ์ มีโรงงานอุตสาหกรรมหลายโรงงาน มีสถานที่ท่องเที่ยวจำนวนมาก สวนสัตว์ และวัดที่มีชื่อเสียง อุปสรรค: การเดินทางมารวมกลุ่มไม่ค่อยสะดวก ไม่มีแนวทางในการส่งเสริมให้ชัดเจน และจากการวิเคราะห์ SWOT Analysis กำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก เพิ่มแหล่งในการกระจายสินค้าใหม่ ๆ กลยุทธ์เชิงแก้ไข จัดการการดำเนินงานของสมาชิกให้มีความชัดเจน กลยุทธ์เชิงป้องกัน ขอสนับสนุนสถานที่ทำกิจกรรม เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมของสมาชิก กลยุทธ์เชิงรับ กำหนดแนวทางการรวมกลุ่มสมาชิกให้ชัดเจน การกำหนดหน้าที่การดำเนินงานและผู้รับผิดชอบ และจัดตารางเวลาในการติดตามและประเมินผล

References

กริชตรี ปัญญาบุญ, และวิษณุ สุมิตรสวรรค์ (2565). การส่งเสริมอาชีพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงมหาชนก บ้านหนองบัวชุม ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกรุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(9), 218-234.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2551). การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ผการัตน์ พินิจวัฒน์ (2561) การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน : กรณีศึกษา บ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(3), 925-935.

พงศ์พิช ยงประพัฒน์. (2558). กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายวัสดุก่อสร้างของร้าน 3B Material อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 2(1), 46-58.

พระกรัณรักษ์ เขมจาโร (ร่มเงิน). (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามการบริหารของเทศบาลตำบลป่าคุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชาวิทยาลัย.

ภาควัต ศรีสุรพล และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็งในตำบลน่าชุมแสง แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็งในตำบลนาชุมแสง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (รายงานวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลลิตา พิมทา, อินทร์ อินอุ่นโชติ, และศักดิ์ศรี สืบสิงห์ (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 17(2), 37-52.

สิรินพร เกียงเกสร (2565). แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านเกาะตาเถียร ตำบลไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา, 6(2), 39-48.

อุบล วุฒิพรโสภณ, และคณะ (2565). การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในการจัดตั้งตลาดริมน้ำวัดไร่ขิง เพื่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดนครปฐม. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 118-132.

เอกชัย บุญญาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2004). Strategic management and business policy. Upper Saddle River. NJ: Pearson/ Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite