การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • มนตรี บุญจรัส บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด

คำสำคัญ:

การบูรณาการหลักพุทธธรรม, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 156 คน เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง การให้บริการอย่างก้าวหน้า การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน การให้บริการอย่างเพียงพอ และการให้บริการอย่างรวดเร็วและทันเวลา 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง พบว่า การบริหารและหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง โดยประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ประกอบด้วย การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน การให้บริการอย่างรวดเร็วและทันเวลา การให้บริการอย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า โดยบูรณาการเข้าหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ: รักงาน วิริยะ: สู้งาน จิตตะ: ใส่ใจงาน วิมังสา: ทำงานด้วยปัญญา โดยมีสติตลอดเวลา คิดค้นแนวทางการปรับปรุงงาน และแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล นอกจากนั้นยังขับเคลื่อนด้วยการบริหาร ทั้งเรื่องของการวางแผนที่ดี การนำอย่างมีวิสัยทัศน์ การควบคุมอย่างเป็นระบบมีความยุติธรรม

References

เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ และคณะ. (2557). การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการของเทศบาลนครสงขลา (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สยามรัฐ. (2566). เกษตรอ่างทอง จัดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์. สืบค้น 8 ตุลาคม, จาก https://siamrath.co.th/n/463238?fbclid=IwAR2xNL1a85lnRL7vOg55eMs0qnoKaXl80KzlyoBDqe2BsF5AweKcsUsvsY.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง. (2565). ข้อมูลหน่วยงาน. สืบค้น 8 ตุลาคม. จาก http://www. angthong.doae.go.th/index.html.

สิงห์คำ มณีจันสุข. (2563). การบริหารจัดการสวัสดิการสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Vassapagk, K. (2565). ปัญหาของการบริหารราชการไทยและแนวทางการแก้ไข. สืบค้น 8 ตุลาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/387265#google_vignette.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite