การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วีนัส ธรรมสาโรรัชต์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักไตรสิกขา, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 332 คน และเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูป/คน นำไปวิเคราะห์แบบพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับได้ดังนี้ การพัฒนาตนเองทางวิชาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู ศักยภาพในการจัดการเรียนการ ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และหลักไตรสิกขาส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์ดังนี้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5 ด้าน นำหลักไตรสิกขาบูรณาการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 1. ศีล: พฤติกรรม โดยประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ดีทั้งทางกาย วาจา และใจ 2. สมาธิ: จิตใจมุ่งมั่น โดยปฏิบัติงานโดยเอาใจฝักใฝ่ตรวจสอบผลงานอยู่เสมอ 3. ปัญญา: องค์ความรู้ โดยมีสติและแก้ไขโดยใช้หลักเหตุผล

References

กลุ่มบริหารงานบุคคล. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน โครงการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานศึกษาธิการภาค 3.

ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดสิทธิชัย วิสุทฺโธ (หว่านผล). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันชัย สุขตาม. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในยุคโลกาภิวัตน์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สายรุ้ง บุบผาพันธ์. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (2565). บุคลากร. สืบค้น 7 มกราคม 2565, จาก http://rb2.go.th /index.php#.

อนุวัต กระสังข์. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite